การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
104 และควบคุมจนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวน มาตรา 23 เป็นมาตการคุ้มครองสิทธิในการควบคุม ตัวจะต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุม มาตรา 24 ผู้มีส่วนได้เสียโดยชอบด้วยกฎหมายในการ เข้าถึงข้อมูลของผู้ถูกควบคุมตัว เช่น ญาติ ผู้แทนหรือทนายความ หรือคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ มีสิทธิร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัวตาม มาตรา 23 และมาตรา 25 เป็นเรื่องของข้อยกเว้นโดยที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบหรือศาลอาจไม่ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัวตามมาตรา 23 หากผู้นั้นอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมาย โดยผู้อยู่ในอานาจศาล และการเปิดเผยอาจละเมิดต่อความเป็นส่วนตัว หรือก่อให้เกิดผลร้ายต่อบุคคล ให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ผู้วิจัยวิเคราะห์แล้วเห็นว่า การออกพระราชกฤษฎีกาขอเลื่อนบังคับใช้กฎหมายซึ่ง เป็นมาตการคุ้มครองสิทธิที่มีสาระสาคัญของทั้ง 4 มาตราตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ไม่เป็นไปตามหลักรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 ที่ชี้หลักการออกพระราชกฤษฎีกา ว่าจะต้องออกในกรณีเหตุฉุกเฉินเร่งด่วน เพื่อรักษาความปลอดภัย ของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ ทางสาธารณะ การที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายส่วนได้มีการเตรียมพร้อมการบังคับใช้กฎหมายตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 อยู่ แล้ว เช่น สานักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมที่จะบริหารการจัดการความยุติธรรมให้ กฎหมายมีประสิทธิภาพ และพร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายทุกมาตราได้ทันที แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่ยังไม่พร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย คือสานักงานตารวจแห่งชาติ ทั้งๆ ที่ตารวจก็ร่วม ร่างกฎหมายมากว่า 10 ปี ทาให้รู้เห็นในประเด็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องของพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 โดยที่ในมติที่ประชุมที่ผ่านๆมาก็ รับฟังความคิดเห็นของตารวจมาโดยตลอด ตั้งแต่ขั้นยกร่างไปจนถึงการพิจารณา นอกจากนี้ใน คณะกรรมาธิการก็มีตารวจอยู่ด้วย แสดงว่าทราบเนื้อหากฎหมายมาโดยตลอด ( พรลภัส วุฒิรัตนรักษ์ , 2566) นอกจากนี้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มาตรา 22 มีการระบุข้อความที่เปิดโอกาสในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถบันทึกภาพ และเสียงไว้ได้ ให้บันทึกเหตุนั้นเป็นหลักฐานไว้ในบันทึกการควบคุมตัว ซึ่งถือเป็นแนวทางที่จะช่วย เจ้าหน้าที่ของรัฐทางานตามที่กฎหมายกาหนดได้อย่างโปร่งใส ตรวจสอบกระบวนการจับและควบคุม ตัวได้ เนื่องจากที่ผ่านมาสภาทนายความ และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้รับเรื่องกรณีการซ้อมทรมาน และการบังคับบุคคลให้สูญหายจานวนมากที่เกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ล่าสุดกรณีผู้กากับโจ้ ดังนั้นการ เลื่อนบังคับใช้กฎหมาย มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 ให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 (เดิมมีผลใช้บังคับในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556) รัฐกระทาไม่ได้ และการอ้างเหตุผล ที่ว่าการซื้อกล้องที่จะบันทึกภาพในการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นเหตุผลที่ไม่สามารถใช้ได้ เพราะใน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3