การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทที่ 1 บทนา 1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา สหประชาชาติให้ความสาคัญกับวันที่ 30 สิงหาคม ในทุก ๆปี และถือว่าเป็นวันผู้สูญหายสากลที่ สังคมโลกตระหนักถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงรูปแบบหนึ่ง คือ ‘การบังคับบุคคลให้สูญ หาย’ (enforced disappearance) หรือที่เรียกกันว่า “การอุ้มหาย”เป็นวิธีการที่ถูกนามาใช้เป็น เครื่องมือของเจ้าหน้าที่ของรัฐในหลายๆประเทศเพราะคงคิดว่าเป็นวิธีการที่แก้ไขปัญหาได้อย่าง รวดเร็วที่สุดแต่ในความรวดเร็วนั้นกลับกลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ถึงขนาดที่ สหประชาชาติได้จัดทากฎหมายระหว่างประเทศขึ้นฉบับหนึ่ง (ปกป้อง ศรีสนิท, 2562) คืออนุสัญญา ระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับซึ่งสามารถแยก องค์ประกอบความผิดได้ คือ มีการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของเหยื่อผู้เสียหายไม่ว่าจะโดยการจับกุมตัว หรือการนาไปคุมขังไว้ที่สถานที่ต่างๆ รวมทั้งการลักพาตัวโดยปราศจากความยินยอม ที่เกิดจาก เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเอกชนที่กระทาการภายใต้อานาจหรือการสนับสนุนหรือการยอมรับจากรัฐและมี การปฏิเสธไม่รับรู้การกระทาหรือปกปิดชะตากรรมของผู้สูญหายโดยไม่ได้กล่าวถึงระยะเวลาของการ คุมขังว่าจะต้องนานเท่าใดถึงเป็นการบังคับบุคคลให้สูญหาย องค์ประกอบความผิดของการกระทาให้ บุคคลสูญหายมีการกาหนดให้การกระทาให้บุคคลสูญหายเป็นสิ่งที่ไม่อาจทาได้ไม่ว่าสถานการณ์ใดก็ ย่อมเป็นอาชญากรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเพราะ ไม่ใช่แค่การที่จะทาลายหรือฆ่าใครสักคนหนึ่งแต่เป็นการทาลายตัวตน ทาลายอัตลักษณ์ ทาลาย คุณค่าของความเป็นคนเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมากสาหรับกฎหมายสากลที่ทั่วโลกร่วมมือกันป้องกันและ ปราบปรามมาอย่างยาวนาน ทั้งยังเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นทุกครั้ง ไร้ซึ่งผู้รับผิดชอบในทุกครั้ง (อังคณา นีละไพจิตร, 2564) ในประเทศไทยมีการกาหนดการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น โดยผลแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มีการบัญญัติการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนใน ประเทศไทยเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายโดยการได้รับความช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐไว้ใน มาตรา 25 ทั้งนี้บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพหรือจากการกระทา ความผิดอาญาของบุคคลอื่นย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือจากรัฐตามที่กฎหมาย บัญญัติไว้ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, 2560) ทั้งนี้การละเมิดสิทธิมนุษยชนคดีที่ผู้เสียหาย ได้รับความเสียหาย เช่น ถูกทาร้ายร่างกาย ถูกหมิ่นประมาท ถูกล่วงละเมิดทางเพศหรือคดีเกี่ยวกับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3