การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

2 ทรัพย์กรณีเรียกดอกเบี้ยผิดนัดเป็นต้น นอกจากผู้เสียหายจะมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทน ทางแพ่งฐานละเมิดแล้วยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งไปในคดีอาญาที่พนักงานอัยการยื่นฟ้อง ได้ด้วย ซึ่งเรียกว่าการยื่นคาร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 มาตรา 44/1 (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, 2477) ตามหลักกฎหมายในการกาหนดการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายและเหยื่ออาชญากรรม เมื่อมีการกระทาความผิดขึ้นมีพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่ จาเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 เข้ามาคุ้มครองเยียวยาความเสียหาย พระราชบัญญัติดังกล่าวเป็น แนวคิดที่มาจากปัญหาความรุนแรงของอาชญากรรมซึ่งผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมยัง ไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจและทรัพย์สินเท่าที่ควร สืบเนื่องมาจาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 245 ได้มีการให้การรับรองสิทธิแก่ ผู้เสียหายเกี่ยวกับการช่วยเหลือที่เกิดจากการกระทาความผิดอาญาของผู้อื่นโดยตนมิได้ มีส่วน เกี่ยวข้องกับการกระทาความผิดนั้น และไม่มีโอกาสได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่นจึงมี ความจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อรองรับสิทธิต่าง ๆ ให้กับบุคคลทุกคน ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์การใช้ความรุนแรงโดยรัฐและการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ เป็นเวลานับหลายทศวรรษการกระทาให้บุคคลสูญหายเกิดขึ้นในบริบทเหล่านี้และเป็นประเด็นปัญหา ที่ไม่อาจพิจารณาแยกจากบริบททางการเมืองที่เต็มไปด้วยความรุนแรงเป็นการกระทาที่เกิดขึ้นพร้อม กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการสังหารนอกกระบวนการกฎหมาย การควบคุมตัวโดยพลการ การทรมาน การข่มขู่และคุกคามจึงเห็นชัดได้ว่าการกระทาให้บุคคลสูญ หายในรัฐไทยเป็นมาตรการใช้ความรุนแรงเพื่อใช้ในการปราบปรามกลุ่มบุคคลที่มีความเห็นต่างหรือ เพื่อกาจัดผู้ต้องสงสัยซึ่งเป็นการกระทานอกเหนือหลักกระบวนการยุติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน โดยจากการรวบรวมข้อมูล ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ตามที่องค์การสหประชาชาติได้มี การระบุว่ามีคนหายสาบสูญในประเทศไทยหลายคนด้วยกันจากหลายๆเหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ทางการเมือง เหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี พ.ศ. 2535 ความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ สงครามยาเสพติดช่วงปี พ.ศ. 25460 จนถึง พ.ศ. 2558 รวมถึงปฏิบัติการทวงคืนผืนป่าในยุครัฐบาล คสช.และอีกหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (ปรีดา โพธิจันทร., 2563) ในประวัติศาสตร์ของการ เกิดอาชญากรรมการกระทาให้บุคคลสูญหายโดยรัฐมีสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างผู้ที่ได้มี การถูกบังคับให้สูญหายที่เป็นคดีโด่งดังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 คือ ปี พ.ศ. 2495 กรณีคุณเตียง ศิริขันธ์ เสรีไทยผู้ถูกฆ่าเพราะการเมือง ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีที่มีฐานสนับสนุนจากกองทัพ ได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้น ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ นายเตียงคงเห็นว่าสถานการณ์การเมืองพอจะไว้ใจได้ จึงกลับเข้าสู่สนามการเมืองอีก ครั้งโดยลงสมัครเข้ารับเลือกตั้ง และก็ได้รับเลือก แต่การที่เป็นนักการเมืองที่หัวแข็ง แม้จะร่วมอยู่ใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3