การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหายเป็น การศึกษาถึงผลกระทบในเชิงบทบัญญัติทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมจากกรณีที่สังคมไทย ขาดมาตรการทางกฎหมายที่จะเข้ามาคุ้มครองสิทธิและเยียวยาแก่ครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกกระทาให้ สูญหาย เป็นการวิจัยที่กาหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทาง กฎหมายในการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหาย ศึกษามาตรการที่จะเข้า มาคุ้มครองสิทธิเยียวยา และศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูก บังคับสูญหาย เพื่อที่จะเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการ คุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหายได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมมาก ยิ่งขึ้น จากการศึกษามาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับ สูญหายในส่วนของผลการวิเคราะห์บทที่ 4 แสดงให้เห็นถึงหลักการเยียวยาตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ซึ่งได้มีการประกาศใช้ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 มีการเยียวยาทางด้านการเงินที่จะเข้าคุ้มครองสิทธิในเบื้องต้น มีการ ฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้เสียหายโดย เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ ในขณะที่วิธีการให้ความ ช่วยเหลือของต่างประเทศนอกจากด้านการเงิน และการฟื้นฟูสภาพจิตใจแล้ว อาจจัดให้มีบริก าร ช่วยเหลือจากหน่วยงานหรืออาสาสมัครหรือให้ความช่วยเหลือโดยผ่านโปรแกรมการให้ความ ช่วยเหลือ และมีการดาเนินคดีความความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สินตลอดจนการดารงชีพ ในระหว่างที่ยังมีความเดือดร้อนหรือยังต้องดาเนินคดีความอยู่ ทั้งยังมีการคุ้มครองสิทธิและเยียวย า ให้แก่ครอบครัวของผู้สูญหาย ครอบคลุมถึงการเยียวยาช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ มีรูปแบบการ กาหนดให้มีการยกเลิกนิรโทษกรรม มีการจัดตั้งคณะกรรมการค้นหาแห่งชาติ ศูนย์ทะเบียนคนหาย แห่งชาติ แผนการค้นหาแห่งชาติ และจัดให้มีกลไกค้นหาเร่งด่วนเพื่อให้การค้นหาผู้สูญหายมี ประสิทธิภาพและได้รับความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น มีการดูแลทางสุขภาพจากรัฐตามระบบประกันสังคม แก่ครอบครัวผู้สูญหาย และมีการกาหนดให้มีการรับผิดในทางแพ่ง ภายใต้กฎหมายแพ่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3