การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

121 แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ ทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 โดยจะมีผลใช้ บังคับในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 (120 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565) เป็นบทบัญญัติสาคัญที่กาหนดให้การกระทาหรือบังคับให้บุคคลสูญหายเป็น ความผิดอาญา ซึ่งนอกจากจะมีผลในการป้องกันและปราบปรามการฆ่านอกกระบวนการยุติธรรม และบังคับสูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว ยังมีบทบัญญัติที่จะมีการส่งผลในการปฏิรูปกระบวนการ ยุติธรรมในชั้นพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการอย่างมากเช่น กาหนดให้ในการจับกุมบุคคล ตารวจหรือเจ้าหน้าที่จะต้องมีกล้องติดตามตัว หรือ Body Cam เพื่อป้องกันไม่ให้มีการทรมานหรือ การใช้อานาจหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งเจ้าหน้าที่ที่จับกุมคุมขังบุคคลต้องแจ้งให้หน่วยงานอื่น เช่น ฝ่าย ปกครองและอัยการทราบเกี่ยวกับการควบคุมตัวทันที พร้อมทาบันทึกรายละเอียดของการจับกุมและ ควบคุมตัว เพื่อให้ครอบครัวของผู้ถูกจับและทนายความตรวจสอบได้ ซึ่งจะไม่เพียงเป็นประโยชน์ใน การคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับกุมคุมขังเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทาตามอานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างสุจริต กรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทาผิดด้วย กฎหมายยังให้ศาลคดีอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นศาลที่มีอานาจพิจารณาคดีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งพิจารณาคดีที่เจ้าหน้าที่ที่อยู่ใน อานาจของศาลทหารตกเป็นจาเลยด้วย นอกจากนี้กฎหมายยังกาหนดให้รัฐมีมาตรการต่าง ๆ ในการ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้เสียหาย ทั้งในด้านชีวิตความเป็นอยู่ ร่างกาย และจิตใจอีกด้วย ซึ่งเป็น อานาจหน้าที่ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมจะเข้ามาช่วยเหลือ เยียวยาแก่ ครอบครัวของเหยื่อ หรือญาติผู้สูญหาย ณ ปัจจุบันที่จะมีการกาหนดมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิ เยียวยาครอบครัว เหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้ บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 เป็นลายลักษณ์อักษร และชัดเจนยิ่งขึ้น ทาให้กลุ่มภาคประชาชนหรือภาค ประชาสังคมไม่ว่าจะเป็นญาติ ครอบครัวของเหยื่อผู้สูญหาย กลุ่มทนายความรวมทั้งสมาคมนัก กฎหมายสิทธิมนุษยชน กลุ่มพนักงานอัยการและกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรงยุติธรรมต่าง เห็นด้วย และชื่นชมกับการที่ประเทศไทยประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาอย่างจิงจัง เพื่อแก้ไขปัญหา การอุ้มหายหรือการบังคับการสูญหายที่เกิดขึ้นในสังคมไทยโดยที่ครอบครัว ญาติผู้สูญหายยังไม่ได้รับ การฟื้นฟู เยียวยาที่ครอบคลุมส่งผลให้ประชาชนขาดหลักประกันสิทธิและเสรีภาพในการดารงค์ชีวิต ได้ตามปกติสุข แต่ก็ยังคงมีข้อกังวลหรือปัญหาสาหรับการที่จะเข้ามาคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตาม มาตรา 22 คือการบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในการสอบสวน และมาตรา 23 แบบบันทึก ข้อมูลของผู้ถูกจับกุม เพราะบางหน่วยงานยังไม่มีแนวปฏิบัติ และมีพื้นที่จัดเก็บภาพและเสียงไม่ เพียงพอ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่างระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกภาพและเสียงซึ่งถือว่าเป็น วิธีการอย่างหนึ่งที่จะเข้ามาคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายหรือผู้ที่อาจจะถูกบังบังสูญหายที่มีการกาหนด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3