การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
124 บททั่วไป (ข้อ3-5) หมวดที่ 2 มาตรการการเยียวยา (ข้อ6-8) และหมวดที่ 3 อานาจหน้าที่ในการ คุ้มครองเยียวยาสิทธิครอบครัวของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย (ข้อ9 -12) เพื่อให้สอดคล้องรับกับ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ที่ได้มี การประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 โดยมีหลักการและเหตุผลดังนี้ หลักการ ให้ใช้บังคับระเบียบกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ว่าด้วยหลักเกณฑ์มาตรการคุ้มครอง เยียวยาสิทธิ ให้แก่ครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย พ.ศ. …. เหตุผล การบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นวิธีการที่แก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วที่สุด แต่ในความรวดเร็ว นั้นกลับกลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ซึ่งประเทศไทยมีการกาหนดการคุ้มครอง สิทธิของผู้เสียหายเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นโดยผลแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ประเทศ ไทยเห็นถึงความสาคัญที่มุ่งจะแก้ไขปัญหาการบังคับบุคคลให้สูญหาย จึงได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พุทธศักราช 2565 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป อย่างไรก็ตามเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติฉบับนี้และ จัดให้มีมาตรการคุ้มครอง เยียวยาสิทธิ ให้แก่ครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับให้สูญหายได้อย่าง ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจึงจาเป็นต้องตราระเบียบกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ว่า ด้วยหลักเกณฑ์มาตรการคุ้มครอง เยียวยาสิทธิ ให้แก่ครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับให้สูญหายตาม แผนที่แนบท้ายประกาศ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3