การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
4 ให้มีทั้งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บถึงแก่ชีวิต ร่างกาย และสูญหายไปเป็นจานวนมาก (นุติกานต์ ไชยสุวรรณ ออนไลน์, 2565) ปี พ.ศ. 2547 กรณีคุณสมชาย นีละไพจิตร (ทนายสมชาย) ทนายความและนักเคลื่อนไหวด้าน สิทธิมนุษยชนอดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิมทนายความด้านสิทธิมนุษยชนผู้ทาคดีให้กับ ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้จนยกฟ้องในหลายคดีที่ได้หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2547 หลังยื่นหนังสือให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตรวจสอบกรณีซ้อมทรมาน ผู้ต้องหา ในเวลาต่อมามีตารวจถูกดาเนินคดี 5 คน แต่ศาลยกฟ้องทั้งหมด (ThaiPublica, 2560) ปี พ.ศ. 2557 กรณีคุณพอละจี รักจงเจริญหรือบิลลี่ หนึ่งในแกนนากะเหรี่ยงบ้านบางกลอยที่ ต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทากินพยานปากสาคัญในคดีที่ยื่นฟ้องคุณชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยาน แห่งชาติแก่งกระจานในข้อหาเผาบ้านและยุ้งฉางของชาวบ้านจนได้รับความเสียหายได้หายตัวไป ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557 (พลวุฒิ สงสกุล ออนไลน์, 2562) ปี พ.ศ. 2559 - 2562 พบว่ามีการสูญหายของอดีตนักกิจกรรมจานวน 9 คนที่ได้มีการต่อต้าน รัฐประหารและผู้ที่ถูกแจ้งข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ตามกฎหมายมาตรา 112 ที่ได้มีการลี้ภัย การเมืองไปอยู่ที่ประเทศเพื่อนบ้านและสูญหายไป (จุฑารัตน์ กุลตัณกิจจา, 2563) ปี พ.ศ. 2563 นักกิจกรรมที่สูญหายในขณะลี้ภัยในต่างแดนล่าสุด นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นนักกิจกรรมทางการเมืองเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ สุขอนามัยทางเพศและประชาธิปไตย ภายหลังการทารัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วันเฉลิมได้ตัดสินใจลี้ภัยทาง การเมืองเนื่องจากปรากฏรายชื่อของตนในประกาศเรียกบุคคลเข้ารายงานตัวของ คสช. เขาจึงได้ลี้ภัย ไปยังประเทศกัมพูชาและพักอาศัยอยู่ที่แม่โขงการ์เดนส์ คอนโดมิเนียมซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางกรุง พนมเปญเพียงประมาณ 5 กิโลเมตรที่ถูกอุ้มหายในกลางวันเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ทั้งยังมี ภาพวิดีโอชัดเจนแต่กลับถูกรัฐเมินเฉยปฏิเสธและตีตราความเป็นอื่นอันเป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์และสร้างบาดแผลให้กับการใช้ชีวิตต่อไปของครอบครัวและญาติของเหยื่อ (เอกทิพย์ เฟื่อง ฟุ้ง, 2563) อาชญากรรมการบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่ 3 ในอาเซียนที่มีคน ที่ถูกบังคับสูญหายมากเป็นลาดับ 3 ในอาเซียนประเทศที่คนถูกบังคับสูญหายมากสุดคือ ประเทศ ฟิลิปปินส์และประเทศอินโดนีเซีย (อังคณา นีละไพจิตร, 2564) ปัญหาการบังคับบุคคลให้สูญหายที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบันทาให้ประเทศไทยเห็น ถึงความสาคัญของการแก้ไขปัญหาบุคคลสูญหาย โดยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรีได้ มีมติเห็นชอบการลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหาย สาบสูญโดยถูกบังคับ และมีการดาเนินการลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวต่อองค์การสหประชาชาติแล้ว เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 อันเป็นผลทาให้ประเทศไทยต้องผูกพันหรือมีพันธกรณีในการอนุวัติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3