การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

5 กฎหมายภายในที่จะต้องปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย กฎ ระเบียบและนโยบายรวมถึงมาตรการ ต่างๆให้สอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญานั้นๆ เป็นระยะเวลายาวนานสาหรับปัญหาการลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวที่ประเทศไทยยังไม่มีผล นามาบังคับใช้ เป็นเพียงการลงนามไว้แต่เพียงแสดงออกให้ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหาการ อุ้มหายที่เกิดขึ้นเท่านั้น จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยยังขาดมาตรการในการที่จะคุ้มครองสิทธิของ ครอบครัวเหยื่อผู้สูญหายที่ได้รับอย่างเหมาะสมส่งผลให้ทุกคนมีโอกาสตกเป็นเหยื่อหรือได้รับ ผลกระทบจากการกระทาให้บุคคลสูญหายในทางใดทางหนึ่ง ปัญหาของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อในคดีเหล่านี้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยไม่คุ้มครอง ถึงครอบครัวของผู้สูญหายอีกด้วยเนื่องจากตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (4) ผู้เสียหายจะต้องเป็นบุคคลที่รับความเสียหายจากการกระทาผิดฐานใดๆก็ตาม รวมทั้งบุคคลอื่นที่มี อานาจตามที่กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากาหนดไว้ให้มีอานาจจัดการแทนได้เป็นผู้เสียหาย เช่นกัน เนื่องจากปัญหาการสูญหายที่เกิดขึ้นนั้นต้องพิสูจน์เป็นที่ประจักษ์แก่ศาลว่า “ผู้ที่สูญหาย ถูก ทาร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้” ซึ่งปัญหาการสูญหายนี้เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ สามารถกระทาการพิสูจน์เป็นที่ประจักษ์แก่ศาลได้ ในขณะเดียวกันการที่ผู้ใดจะเป็นผู้มีอานาจจัดการ แทนก็จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยเฉพาะบิดามารดา บุตร สามีหรือภริยาที่จะเป็นผู้มีอานาจจัดการแทนได้ก็ต่อเมื่อผู้เสียหายถูกทาร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บ จนไม่สามารถจัดการเองได้แต่การบังคับสูญหายมักจะเป็นกรณีที่ไม่มีใครทราบถึงชะตากรรม ความ เป็นอยู่หรือสภาพของผู้ถูกบังคับสูญหายได้จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้ถูกบังคับสูญหายได้ตายไปแล้วหรือ บาดเจ็บจนไม่อาจใช้สิทธิดาเนินคดีเองได้หรือไม่ ดังนั้นบิดามารดา บุตรสามีหรือภริยาจึงไม่อาจใช้ สิทธิดาเนินคดีในฐานะผู้มีอานาจจัดการแทนได้ทาให้ประเด็นปัญหาในคดีการกระทาให้บุคคลสูญหาย ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องร้องต่อสู้คดีกับผู้กระทาผิดได้คือ “ผู้ถูกกระทาให้สูญหายเท่านั้น” โดยที่ไม่ได้ รวมถึงครอบครัวของผู้ถูกกระทาให้สูญหายอยู่ด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการหลักกฎหมายมาปิดช่องโหว่ ดังกล่าวด้วยการกาหนดลักษณะของผู้เสียหายให้ครอบคลุมถึงครอบครัวของผู้ถูกกระทาให้สูญหาย ด้วย (ปณิธาน พิมลวิชยากิจ, 2562) เมื่อกล่าวถึงสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้ถูกกระทาให้สูญหายมีการนา คดีขึ้นสู่ศาลเป็นการเปิดเผยความจริงและการลงโทษผู้กระทาผิด คือคดีสมชาย นีละไพจิตร เป็นคดี คนหายรายแรกของประเทศไทยที่สามารถนาขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมแม้จะพ่ายแพ้และ เจ็บปวดแต่เรื่องของสมชาย กลับนามาสู่การเปิดโปงกระบวนการของเจ้าหน้าที่รัฐบางคนในการทาให้ คนที่คิดต่างหรือคนที่คิดว่าเป็นศัตรูต้องหายไปและโฉมหน้าของผู้กระทาผิดได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ ดังที่ปรากฏในคาพิพากษาฎีกาที่10915/2558 เป็นคดีที่มีการตัดสินให้ภรรยาและลูกไม่ใช่ผู้เสียหาย ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4) จึงเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่ได้ตามาตรา 30 ผู้เสียหายคือ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3