การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
6 ทนายสมชายต้องฟ้องเองเป็นคดีที่ต่อสู้กันถึงในที่สุด กรณีนี้โจทก์ฟ้องว่าจาเลยร่วมกันทาร้ายสมชาย แต่ไม่ยืนยันว่าเสียชีวิตหรือไม่ รวมถึงไม่ได้ความตามฟ้องว่าบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ แม้ว่า ในปี พ.ศ. 2552 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคาสั่งตัดสินให้นายสมชายเป็นบุคคลสาบสูญเป็นเพียงการตาย โดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 62 ไม่ใช่การตายเพราะถูกทาร้าย ทาให้ไม่สามารถขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในการที่จะดาเนินคดีต่อไปได้ (กฤษฎา ศุ ภวรรธนะกุล และปกป้อง ศรีสนิท, 2560) เป็นแนวคาพิพากษาฎีกาที่ขัดต่ออนุสัญญาระหว่าง ประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับคริสต์ศักราช 2006 ทั้งยัง ทาให้เห็นถึงช่องว่างของกฏหมายในการที่จะนาหลักกฎหมายภายในประเทศที่มีอยู่ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาบังคับใช้กับเหตุการณ์การบังคับบุคลให้สูญหายก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากโดยสภาพของคดีนี้ครอบครัวของเหยื่อผู้ถูกบังคับให้สูญหายไม่มีทางรู้ถึงการใช้ชีวิความ เป็นอยู่ของผู้ถูกบังคับให้สูญหายเลยว่าจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ ดังนั้นการที่จะให้ผู้มีอานาจดาเนินคดีความ อาญาแทนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (2) จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเข้า ร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 30 เพราะไม่มี พยานหลักฐานปรากฏชัดเจนว่าผู้ถูกกระทาให้สูญหายตายอันเป็นผลโยตรงงจากการกระทาของ เจ้าหน้าที่รัฐและแม้ว่าศาลจะมีคาพิพากษาสั่งให้ผู้ถูกกระทาให้หายสาบสูญเป็นบุคคลสาบสูญแล้วก็ ตามเป็นเรื่องของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่อาจทาให้มีผลเป็นว่าผู้ถูกกระทาให้สูญหายตายอันเป็น ผลโดยตรงจากการกระทาความผิดอาญา (วิรัตน์ นาทิพเวทย์ และนัชมุดดีน อัตตอฮีรี, 2562) จากปัญหาหลายๆเหตุการณ์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การบังคับบุคคลให้สูญหายที่เกิดขึ้นมาอย่าง ยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งยังไม่มีหลักกฎหมายและมาตรการที่เข้ามาคุ้มครองสิทธิเยียวยาได้ อย่างเหมาะสม ตามที่ประเทศไทยได้ลงนามไว้ในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคล ทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ บัดนี้ ได้มีการปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย กฎ ระเบียบและนโยบายรวมถึงมาตรการต่างๆให้สอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญานั้นๆแล้ว โดยได้มี การประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พุทธศักราช 2565 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับ แต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป อย่างไรก็ตามในทางปฎิบัติ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิเยียวยาผู้เสียหายที่ได้มี การกล่าวไว้ข้างต้นนี้มิได้นามาถูกบังคับใช้ในการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวของเหยื่อผู้สูญหายใน ประเทศไทยแต่อย่างใดแม้ว่าเป็นหลักกฎหมายสูงสุดของประเทศหรือหลักกฎหมายภายในประเทศที่ เกี่ยวข้องได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วก็ตามทั้งที่การบังคับการสูญหาญที่เกิดขึ้นเป็นการละเมิดสิทธิ มนุษยชนอย่างร้านแรงในรูปแบบหนึ่งที่ควรจะได้รับการคุ้มครองเยียวยาสิทธิผู้เสียหายได้เช่นเดียวกับ การถูกละเมิดในรูปแบบทั่วๆไปตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายภายในประเทศไทยส่งผลให้ครอบครัว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3