การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

7 ของเหยื่อผู้สูญหายย่อมต้องทนทุกข์ในสิ่งที่ต้องประสบมีการพยายามปกปิดข้อมูลทาให้ครอบครัวของ เหยื่อเกิดอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลรวมถึงความคืบหน้าในการสอบสวนสืบสวนทางคดีที่ตนควร จะต้องทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ที่กาลังเผชิญ นอกจากนี้หากมีการดาเนินคดีก็ต้องใช้บทบัญญัติ กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง เช่น ความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยวมาใช้บังคับซึ่งไม่เพียงพอที่จะ นามาใช้ลงโทษผู้กระทาความผิดที่มีจิตใจชั่วร้ายได้และเนื่องจากลักษณะของการบังคับบุคคลให้สูญ หายนั้นเองทาให้เกิดปัญหาในการแสวงหาพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดยกตัวอย่าง เช่น พยานหลักฐานถูกทาลายมีการคุกคามพยานเป็นเหตุให้ไม่มีบุคคลใดกล้าเข้ามาเป็นพยานในคดีหรือ เกิดกรณีที่พยานกลับคาให้การในชั้นพิจารณาคดีเป็นต้น นอกจากนี้ยังพบปัญหาในการค้นหาผู้สูญ หายเนื่องจากการบังคับบุคคลให้สูญหายนั้นผู้กระทามีเจตนาที่จะไม่ทิ้งร่องรอยพยานหลักฐานไว้ ดังนั้นจึงยากที่ติดตามค้นหาผู้สูญหาย นอกจากนี้ยังอาจก่อให้ความไม่โปร่งใสในการดาเนินสอบสวน สิ่งต่างๆเหล่านี้จึงถือเป็นอุปสรรคในการดาเนินคดีทาให้ผู้สูญหายและครอบครัวไม่อาจได้รับความเป็น ธรรมอย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้น ปัญหาการให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบเหตุการณ์ความรุนแรงจากการ กระทาบุคคลให้สูญหายที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นกระบวนการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่มี การเยียวยาความเสียหายมีจุดมุ่งหมายสาคัญ 2 ประเด็น คือ เป็นการให้ความสาคัญกับความเสียหาย ในฐานะที่เหยื่อเป็นพลเมืองของรัฐเท่าเทียมกับพลเมืองอื่นโดยจะได้รับแสดงออกในรูปแบบการ เยียวยา มุ่งเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมภายใต้หลักนิติธรรมและประเด็นที่สอง เป็นการเยียวยาโดยการ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในรูปแบบการได้รับความเสียหายที่เท่าเทียมกัน มีการดาเนินการโดย หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในสังคม ญาติ ครอบครัวผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบในการกาหนด กระบวนการเยียวยาโดยต้องรับฟังมุมมองความคิดเห็นของเหยื่อผู้ได้รับความเสียหายเป็นสาคัญ รัฐมี หน้าที่ช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวตามหลักมนุษยธรรมในลักษณะ ที่เป็นการจ่ายแบบให้เปล่า และไม่ต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะความผิดของใคร เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดภัยจากการถูกกระทาให้สูญหายจึงจาเป็นต้องรีบ ดาเนินการตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูก บังคับ พ.ศ. 2553 ตามที่ได้ลงนามไว้โดยการปฎิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ ทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหายที่สามารถแก้ไขปัญหาหรือเยียวยาเหยื่อรวมถึงครอบครัวของ เหยื่อผู้ที่สูญหายได้ในเบื้องต้น เนื่องจากตามพระราชบัญญัตินี้มีการกาหนดให้กรณ๊ที่จะมีการค้นตัว บุคคลใด หรือหากมีการจับ การคุมขัง ที่อาจกระทบกระเทือนต่อเสรีภาพในร่างกายของบุคคลนั้น จะต้องแจ้งสิทธิและจัดทาบันทึกการควบคุมตัวตามที่มาตรา 22 กาหนดไว้เสมอ โดยไม่มีการเลือก ปฏิบัติใดๆทั้งสิ้น ทั้งมีการกาหนดให้ผู้เสียหายในคดีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นผู้เสียหายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตามมาตรา 11 รวมทั้งให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3