การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
8 บทบาทหน้าที่สาคัญในการสืบหา ติดตาม และช่วยเหลือผู้เสียหายตามมาตรา 21 ตลอดจนมีกลไก สนับสนุนช่วยเหลือให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายได้รับความเป็นธรรมผ่านการช่วยเหลือทางกฎหมายเพื่อ ติดตามตรวจสอบและนาตัวผู้ที่เกี่ยวข้องมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาตามมาตรา 33 และมี มาตรการชดเชยฟื้นฟูและคุ้มครองเยียวยาความเสียหายทางร่างกาย จิตใจและสังคมและการป้องกัน มิให้เกิดการกระทาความผิดซ้าอีกในมาตรา 18 มาตรา 27 ทั้งนี้มีการกาหนดบทลงโทษไว้เป็นการ เฉพาะในมาตรา35 ถึงมาตรา 42 อย่างชัดเจนอีกด้วย (คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร, 2563) ด้วยเหตุผลข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงผลกระทบในเชิงบทบัญญัติทางกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมจากกรณีที่สังคมไทยขาดมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิเยียวยา ครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกกระทาให้สูญหาย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการผลักดันให้มีการบังคับใช้กฎหมายให้ เป็นไปอย่างเหมาะสมกับปัญหาการกระทาให้บุคคลสูญหายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและยกระดับการ คุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยให้เทียบเท่าสากลสอดรับกับหลักรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจัก ไทย 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัว เหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหาย 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญ หาย 1.2.3 เพื่อศึกษากฎหมายประเทศไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเยียวยา ครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหาย 1.2.4 เพื่อเสนอแนวทางมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของ ผู้ถูกบังคับสูญหาย 1.3 คาถามวิจัย รูปแบบในการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวของเหยื่อผู้ถูกบังคับให้สูญหายเป็นอย่างไร 1.4 สมมติฐานของการวิจัย การบังคับบุคคลให้สูญหายซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพอย่างร้ายแรงในชีวิต ร่างกายของ ประชาชนที่เกิดจากกระทาโดยเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้องนั้นส่งผลให้ประชาชนต้องอยู่อย่าง หวาดกลัวและเกิดความไม่ไว้วางใจในการกระทาของเจ้าหน้าที่รัฐทาให้ครอบครัวของเหยื่อผู้สูญหาย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3