การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

12 การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยหลักความยุติธรรมขั้น พื้นฐานสาหรับผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมและการใช้อานาจโดยมิชอบ ในการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญาโดยการได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐจะต้องศึกษา ถึงแนวคิดเกี่ยวกับการเยียวยาของผู้เสียหายรวมทั้งระบบการเยียวยาและรูปแบบการเยียวยาในการ พิจารณาว่าสมควรให้ผู้กระทาความผิดหรือหน่วยงานของรัฐร่วมรับผิดชอบในค่าเสียหายหรือ ค่าใช้จ่ายที่รัฐจ่ายให้แก่ผู้เสียหายในคดีอาญาเพียงไรหรือไม่ (ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ และสุรวุฒิ รังไสย์, 2561) ในเบื้องศึกษาแนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการเยียวยาความเสียหายแก่เหยื่ออาชญากรรมหรือ ผู้เสียหายในคดีอาญาเพื่อแสดงให้เห็นหลักการที่มาของกฎหมายในประเทศต่าง ๆว่ามีแนวคิดและ รูปแบบการเยียวยาความเสียหายแก่ผู้เสียหายในคดีอาญาอย่างไร ดังนี้ 2.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิทางด้านกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิทางด้านกฎหมายเป็นการให้ความช่วยเหลือที่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการยุติธรรมเนื่องจากปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมต่างให้ ความสาคัญในการให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายต่อประชาชน จาเลยหรือผู้เสียหายมากขึ้นโดย ปัจจุบันมีการจัดตั้งหน่วยงานในการให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายโดยตรงทั้งหน่วยงานของ ภาครัฐและภาคเอกชนมีหน้าที่หลักในการให้ความช่วยเหลือและแนะนารวมถึงการจัดหาทนายความ เป็นต้น การให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายมีขึ้นเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในกระบวนการ ยุติธรรมและประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ เพื่อยกระดับการคุ้มครองสิทธิแก่ ผู้เสียหายและเพื่อให้กระบวนการทางศาลในทุกขั้นตอนมีการปฏิบัติต่อผู้เสียหายที่เป็นเหยื่อ อาชญากรรมอย่างเหมาะสมซึ่งสอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และดาเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติโดยที่เป็นการ สมควรให้กระบวนการทางศาลในทุกขั้นตอนมีการปฏิบัติต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นเหยื่ออาชญากรรมอย่าง เหมาะสมสอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรฐานขององค์การ สหประชาชาติอาศัยอานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ประธานศาลฎีกา ออกคาแนะนาเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อผู้เสียหายดังต่อไปนี้ ข้อ1 ศาลพึงปฏิบัติต่อผู้เสียหายด้วยความเข้าใจและคานึงถึงศักดิ์ศรีของบุคคลตลอดจน ความปลอดภัยและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกาย จิตใจ ฐานะ สถานภาพทางสังคม ความเป็นอยู่ และการดารงชีวิตของผู้เสียหายอันเนื่องมาจากการดาเนินกระบวนพิจารณาทางศาลหลักทั่วไป ข้อ2 ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ศาลพึงรับฟังความคิดเห็นหรือความกังวลใจของผู้เสียหาย ด้วยความเมตตา เข้าใจและด้วยความเป็นกลางโดยปราศจากอคติที่มีต่อทุกฝ่ายในคดี ข้อ3 เมื่อเห็นเป็นการจาเป็นศาลอาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ศาลจัดทาข้อมูลประวัติของ ผู้เสียหายผลกระทบ หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้เสียหาย ความคิดเห็นหรือความกังวลใจของ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3