การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

15 ดังนั้น จากแนวความคิดการคุ้มครองสิทธิโดยรัฐสวัสดิการเห็นได้ว่าเป็นแนวความคิดที่ ทาให้รัฐมีหน้าที่สาคัญในการให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่ออาชญากรรมเนื่องจากรัฐมีหน้าที่ป้องกัน อาชญากรรม หากรัฐไม่สามารถจัดให้มีมาตรการสร้างความปลอดภัยจากอาชญากรรมแก่ประชาชนได้ รัฐจึงสมควรรับผิดชอบและให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เสียหายที่เป็นเหยื่ออาชญากรรมจึงต้องมีการเยียวยาเกิดขึ้นเป็นการทาให้ประชาชนมองเห็นความ เสมอภาคทั้งทางด้านความยุติธรรมของรัฐได้ดียิ่งขึ้นถึงแม้รัฐจะมีข้อจากัดในเรื่องของงบประมาณก็ ตาม 2.1.3 หลักการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา องค์การสหประชาชาติได้ประกาศรับรองสิทธิของผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมหรือ ผู้เสียหายในคดีอาญาขึ้นเมื่อปี 1985 เป็นปฏิญญาว่าด้วยหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการอานวยความ ยุติธรรมแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมและการใช้อานาจหน้าที่โดยไม่ถูกต้องโดย ตระหนักว่ามีผู้คนจานวนมากต้องประสบความเสียหายอันเนื่องมาจากผลของอาชญากรรมและการใช้ อานาจโดยมิชอบและสิทธิของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเหล่านี้ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเพียงพอและพบว่าเป็น การยากลาบากที่ผู้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหายในคดีอาญาเหล่านั้นจะได้รับความเป็น ธรรมโดยปฏิญญานี้ได้กาหนดสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาไว้ดังนี้ 2.1.3.1 ผู้เสียหายจากอาชญากรรม หมายถึง บุคคล รวมถึงครอบครัวหรือทายาทของ ผู้เสียหายตลอดจนบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการเข้าไปช่วยเหลือผู้เสียหายให้พ้นจากภยันตราย ที่ได้รับความเสียหายทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ รวมไปจนถึงความเจ็บปวด ความรู้สึกนึกคิด ความ สูญเสียทางเศรษฐกิจหรือสิทธิขั้นพื้นฐานอันเป็นผลมาจากการกระทาหรือละเว้นการกระทาที่เป็นการ ละเมิดต่อกฎหมายอาญาอันเป็นกฎหมายของประเทศสมาชิกนั้นๆ ทั้งนี้ในการพิจารณาว่าบุคคลใด เป็นผู้เสียหายตามความหมายของปฏิญญาฉบับนี้ไม่จาต้องพิจารณาว่าได้มีการพบจับกุม ฟ้องร้องหรือ ลงโทษผู้กระทาความผิดหรือไม่รวมทั้งไม่จาเป็นต้องพิจารณาว่าผู้กระทาความผิดกับผู้เสียหายจะมี ความสัมพันธ์กันอย่างไร อีกทั้งหลักเกณฑ์ตามปฏิญญานี้ไม่มีการเลือกปฏิบัติจากความแตกต่างเช่น เชื้อชาติสีผิวเพศอายุภาษาศาสนาสัญชาติความคิดเห็นทางการเมืองหรือความเชื่อหรือการปฏิบัติตาม ประเพณีสถานะทางกาเนิดหรือครอบครัวหรือทรัพย์สินแหล่งกาเนิดทางเผ่าพันธุ์หรือสังคมหรือความ พิการก็ตาม 2.1.3.2 การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมที่ผู้เสียหายพึง ได้รับการปฏิบัติด้วยความเห็นอกเห็นใจและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยผู้เสียหายมีสิทธิที่จะ เรียกร้องให้ผู้กระทาความผิดชดใช้ความเสียหายผ่านกระบวนการยุติธรรมและมีสิทธิได้รับการเยียวยา ความเสียหายที่ตนได้รับตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ โดยองค์กรศาลและองค์กรของฝ่ายบริหาร จะต้องจัดวางมาตรการที่จาเป็นเพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาโดยวิธีที่รวดเร็วเป็นธรรมประหยัด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3