การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
18 ดารงชีพในระหว่างที่ยังมีความเดือดร้อนหรือยังต้องดาเนินคดีความอยู่ หรือการฟื้นฟูสภาพจิตใจ โดยวิธีการให้ความช่วยเหลือของแต่ละประเทศอาจเป็นการให้เงินช่วยเหลือ 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการเยียวยาความเสียหายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทน ผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จาเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 การเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายและเหยื่ออาชญากรรมตามพระราชบัญญัตินี้ มีแนวคิด ที่มาจากปัญหาอาชญากรรมที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นในสังคมโดยมีผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมได้รับ ความเสียหายโดยมีมาตรการเยียวยาแก่ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิต สภาพร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนถึงทรัพย์สินไม่ยุติธรรมครอบคลุมเท่าที่ควร จึงได้มีการออกกฎหมายภายในประเทศมาใช้ บังคับเกี่ยวกับค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จาเลยในคดีอาญา เนื่องจาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรได้ให้การรับรองครอบคลุมถึงสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ของบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทาความผิดอาญาที่เกิดจากบุคคลอื่นโดยตนเองไม่มี มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ดังนั้นบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและ ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จาเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ได้กาหนดหลักการให้ความช่วยเหลือแก่ ผู้เสียหายและเหยื่ออาชญากรรมโดยรัฐไว้ดังนี้ 2.2.1 ผู้มีสิทธิได้รับการเยียวยาความเสียหาย บุคคลที่มีสิทธิได้รับการเยียวยาความเสียหายตามพระราชบัญญัตินี้จะต้องเป็นบุคคลซึ่ง ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทาความผิดอาญาที่เกิดจากบุคคลอื่นโดยตนเองไม่มีมีส่วนรู้เห็น หรือเกี่ยวข้องแต่อย่างใด อีกทั้งผู้เสียหายที่จะได้รับค่าตอบแทนนั้นถึงแก่ความตายก่อน ทาให้สิทธิ เรียกร้องดังกล่าวตกแก่ทายาทที่ได้รับความเสียหายของผู้เสียหายด้วยตามที่กฎหมายกาหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามมาตรา 1629 2.2.2 ความผิดที่รัฐจะเยียวยาความเสียหาย ความผิดที่รัฐจะช่วยเหลือเยียวยาชดเชยความเสียหายตามพระราชบัญญัตินี้ให้ได้นั้นต้อง เป็นการกระทาความผิดเกี่ยวกับเรื่องเพศ ความผิดต่อชีวิติ ร่างกาย ความผิดฐานทาให้แท้งลูก ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บ หรือคนชรา ซึ่งเป็นการกระทาผิดที่เกืดขึ้นแก่ผู้เสียหายหรือ เหยื่ออาชญากรรมทาให้ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมต้องเสียชีวิตหรือได้รับอันตรายแก่กายหรือ จิตใจ 2.2.3 ประเภทของการเยียวยาความเสียหาย กฎหมายได้มีการกาหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายเอาไว้อย่างชัดเจน คือ ให้จ่ายตามที่ผู้เสียหายได้จ่ายออกไปตามความจริงโดยที่จะต้องไม่เกินจานวนเงินขั้นสูงที่กฎกระทรวง กาหนดไว้ในหลักเกณฑ์วิธีการและอัตราในการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3