การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
19 แก่จาเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ข้อ 3 ได้กาหนดอัตราค่าตอบแทนของผู้เสียหายในคดีอาญาที่ จาเป็นในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าห้อง ค่าอาหารในการรักษา รัฐจะจ่ายให้วันละไม่เกิน 1,000 บาทเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาท ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย จิตใจรวมทั้งค่าห้องและ ค่าอาหารรัฐจะจ่ายให้วันละไม่เกิน 1,000 บาทเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 20,000 บาท ค่าขาดประโยชน์ ทามาหาได้ขณะที่ไม่สามารถทางานได้ตามปกติ รัฐจะจ่ายในอัตราค่าจ้างขั้นต่าในพื้นที่ของจังหวัดที่ ประกอบหน้าที่การงานนั้นเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ ตามปกติ และค่าตอบแทนความเสียหายอื่นนอกจากที่กาหนดไว้รัฐจ่ายตามจานวนที่คณะกรรมการ พิจารณาจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายในคดีอาญาเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ในกรณีที่ ผู้เสียหายในคดีอาญาถึงแก่ความตายรัฐกาหนดอัตราค่าตอบแทนให้จ่ายเป็นเงินจานวนตั้งแต่ 30,000 บาทแต่ไม่เกิน 100,000 บาทโดยมีค่าจัดการศพรัฐจ่ายเป็นเงินจานวน 20,000 บาท ค่าอุปการะเลี้ยง ดูไม่เกิน 40,000 บาทและค่าเสียหายอื่นให้จ่ายตามจานวนที่คณะกรรมการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทน ให้แก่ผู้เสียหายในคดีอาญาเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 40,000 บาท (พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จาเลยในคดีอาญา, 2544) ดังนั้น แนวคิดเกี่ยวกับการเยียวยาดังกล่าวเป็นหลักการเยียวยาความเสียหายให้แก่ ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายต่อชีวิต สภาพร่างกาย รวมทั้ง จิตใจและทรัพย์สินอย่างเหมาะสมเท่าที่ควร ทั้งเป็นพระราชบัญญัติที่ตราขึ้นเพื่อรับรองสิทธิในการ ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐของบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทาความผิดอาญาของ ผู้อื่นโดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในความผิดนั้น 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชน (Human Right) คือสิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกันมีศักดิ์ศรีของความ เป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองทั้งความคิดและการกระทา ที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้โดยได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและสนธิสัญญา ระหว่างประเทศ ทั้งยังเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นมนุษย์ซึ่งประกอบไปด้วยสิทธิตามธรรมชาติ และสิทธิที่มีกฎหมายรับรอง หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลงแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าวได้รับการยอมรับ และให้ความสาคัญจากทั่วโลกมากขึ้นเนื่องจากประชาคมโลกได้ตระหนักถึงความโหดร้ายทารุณขอ ง สงครามและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การกระทาย่ายีต่อสตรี เด็กและคนชราที่มนุษย์ได้กระทาต่อมนุษย์ ด้วยกันซึ่งผลจากสงคราม ครั้งนี้นาไปสู่การพัฒนากฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งเป็น หลักการ ข้อตกลง ระบบและกลไกด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับในระดับ สากลเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของทุกคนในโลกนี้ ดังนั้นในปัจจุบันความเชื่อและแนวคิดที่ว่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3