การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

20 มนุษย์ทุกคนมีสิทธิและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกันจึงได้รับการคุ้มครองโดยหลักการ และกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศรวมถึงกฎหมายในระดับประเทศ เช่นรัฐธ รรมนูญของ ประเทศต่างๆซึ่งบัญญัติหลักการสิทธิมนุษยชนไว้ด้วย (แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล, 2561) ผู้นาประเทศต่างๆเห็นถึงความสาคัญจึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นเพื่อเป็น องค์การโลกที่จะคุ้มครองมนุษยชาติให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน สมัชชา สหประชาชาติได้มีมติรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 และมี มติประกาศให้วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันสิทธิมนุษยชน (ครูรุจน์ หาเรือนทรง, 2560) สิทธิมนุษย์ชนที่มีกฎหมายรับรองนั้นประเทศไทยได้เข้าร่วมรับรอง"ปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน"ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ดังนั้นบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจึงได้กาหนดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้ทุกคน ตระหนักในความสาคัญ ของสิทธิมนุษยชนและเป็นแนวทางปฏิบัติต่อกันในฐานะเพื่อนมนุษย์อย่าง เท่าเทียมกันโดยตระหนักว่าทุกคนมีสิทธิในชีวิตมีสิทธิในการยอมรับนับถือและมีสิทธิในการดารงชีวิต และพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ถูกต้อง 2.3.1 การจาแนกสิทธิตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สามารถจาแนกได้ครอบคลุมสิทธิ 5 ประเภท ได้แก่ 1. สิทธิพลเมือง เป็นสิทธิตามธรรมชาติที่มีมาแต่ดั้งเดิมเช่น สิทธิในการดารงชีวิต เสรีภาพ ทรัพย์สิน ความเสมอภาค ความยุติธรรม การแสวงหาความสุข 2. สิทธิทางการเมือง เป็นสิทธิในการเลือกวิธีการดารงค์ชีวิตของตนเองในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เสรีภาพในการแสดงออกของความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุมหรือ การรวมกลุ่มอย่างสงบ สิทธิการมีส่วนร่วมกับรัฐที่เป็นประโยชน์สาธารณะ สิทธิในการเลือกตั้งอย่าง เสรี 3. สิทธิทางเศรษฐกิจ เป็นสิทธิที่เกี่ยวกับมาตรฐานความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมและ คุณภาพชีวิต เป็นสิทธิในการทางานและมีเสรีภาพในการเลือกงานทั้งยังจะต้องได้รับการคุ้มครองจาก การว่างงาน สิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันสาหรับการทางานที่เท่ากันอย่างเป็นธรรม สิทธิ ที่จะมีรายได้สาหรับตนเองและครอบครัว หากจาเป็นก็ชอบที่จะได้รับการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มเติม สิทธิในการหยุดพักผ่อนจากการทางาน สิทธิในการเข้าร่วมสหภาพแรงงานเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ ของตน สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน การได้รับมาตรฐานการครองชีพอย่างเพียงพอ 4. สิทธิทางสังคม เป็นสิทธิที่ควรจะได้รับมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ สิทธิในความ มั่นคงจากการว่างงาน เจ็บป่วย พิการ ชราภาพ หรือขาดอาชีพ สิทธิในการได้รับหลักประกันด้าน สุขภาพแม่และเด็ก ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ สิทธิที่จะได้รับการศึกษาโดยไม่คิดมูลค่า อย่างน้อย ขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน การศึกษามุ่งพัฒนาบุคลิกภาพและความเข้าใจในการเคารพสิทธิ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3