การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
21 มนุษยชน ผู้ปกครองมีสิทธิเลือกชนิดของการศึกษาแก่บุตรของตน ได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพอย่าง เต็มที่ 5. สิทธิทางวัฒนธรรม เป็นการมีเสรีภาพในการแต่งกายตามวัฒนธรรม มีเสรีภาพในการ ใช้ภาษาสื่อความหมายในภาษาท้องถิ่นของตน มีการปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา มีสิทธิที่จะเข้า ร่วมทางวัฒนธรรมชุมชน ศิลปะการแสดงตามสิทธิของตน สิทธิได้รับความคุ้มครองทางศีลธรรม โดย ไม่มีใครมาบังคับ (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม, 2560) 2.3.2 สิทธิมนุษยชนตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับไม่ได้บัญญัติรับรองสิทธิมนุษยชนไว้โดยตรงบัญญัติไว้แต่ เรื่องของสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลและนับเป็นครั้งแรกที่รัฐธรรมนูญของไทยรับรอง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 4 ว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพของ บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” ต่อมาในรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2550 มาตรา 4 นอกจากจะบัญญัติ คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพของบุคคลแล้วยังบัญญัติรวมถึงความเสมอภาคของ บุคคลด้วย รัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2540 นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยที่ได้ก่อตั้งสถาบัน แห่งชาติเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนคือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยบัญญัติไว้ ในส่วนที่ 8 ของหมวด 6 ต่อมารัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2550 ยังคงบัญญัติให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติแต่นาไปบัญญัติไว้ในหมวด 11 ว่าด้วยองค์กรตามรัฐธรรมนูญส่วนที่ 2 ว่าด้วยองค์กรอื่นตาม รัฐธรรมนูญ ไม่ได้บัญญัติไว้ในส่วนที่ 1 ว่าด้วยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเหมือนคณะกรรมการการ เลือกตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประกอบด้วยประธาน กรรมการและกรรมการอื่นอีก 6 คน ตามมาตรา 256 สวนรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560 บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งาติเป็น 1 ใน 5 องค์กรอิสระนอกเหนือจากคณะกรรมการการเลือกตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินโดยบัญญัติไวในหมวด 6 ตามมาตรา 246 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่ารัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับไม่ได้บัญญัติว่าอะไรคือสิทธิ มนุษยชนไว้โดยตรงรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง วรรคสองบัญญัติว่า ปวง ชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกันแม้รัฐธรรมนูญจะไม่ได้อธิบายความหมาย ของคาว่าสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคไว้ก็พอที่จะไปหาความหมายของสิทธิ เสรีภาพและความ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3