การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

22 เสมอภาคในหมวดอื่นของรัฐธรรมนูญได้แต่การที่รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้ความหมายของศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์น่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันได้ ในทางวิชาการ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นคุณค่าอันสืบเนื่องจากความเป็นมนุษย์มีอยู่ ในมนุษย์ทุกคนโดยไม่มีข้อจากัดหรือเงื่อนไขเพื่อให้มนุษย์มีอิสระในการพัฒนาและรับผิดชอบตนเอง และมีสถานะเป็นคุณค่าสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ส่วนความเสมอภาคนั้นหมายถึงบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ ในทางกฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลอื่นไม่ใช่ความเสมอภาคในการมีวัตถุสิ่งของหลักความเสมอภาคเป็น รากฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทุกคน สาหรับความหมายของคาว่า สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรี ภาคและความเสมอภาพของบุคคลในการที่สมควรจะได้รับการรับรอง คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ตามกฎหมายไทยหรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีผลผูกพันจะต้องปฏิบัติตาม เนื่องจากไทยเป็นภาคีสมาชิกของพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนร่วมอยู่ด้วย (วัส ติง สมิตร, 2560) 2.3.3 สาระสาคัญของสิทธิมนุษยชนตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่ง สหประชาชาติ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติซึ่งประกอบด้วยสมาชิกประเทศต่างๆได้ลงมติรับรองและ ประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเพื่อเป็นหลักการสาคัญในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ของประชาคมโลกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 และถึงแม้ว่าปฏิญญาฉบับนี้จะไม่ใช่สนธิสัญญา ระหว่างประเทศแต่ก็จัดเป็นกฎหมายจารีตระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่สาคัญที่สุดซึ่งประเทศ ต่างๆจาต้องเคารพต่อหลักการสิทธิมนุษยชนที่ได้ตราไว้ในปฏิญญาฉบับนี้ (แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่น แนล, 2561) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้เป็นการยึดถือโดยสากลอย่างมีประสิทธิผลด้วย มาตรการแห่งชาติและระหว่างประเทศอันก้าวหน้าตามลาดับทั้งในบรรดาประชาชนของรัฐสมาชิก ด้วยกันเองและในบรรดาประชาชนของดินแดนที่อยู่ใต้เขตอานาจแห่งรัฐนั้น (สถาบันปรีดี พนมยงค์, 2564) ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ถือเป็นสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนระหว่าง ประเทศภายใต้สหประชาชาติมีทั้งสิ้น 9 ฉบับ ดังนี้ 1. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และ มีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540 เป็นการกล่าวถึงสิทธิในการรู้จักการที่จะเคารพ กันและกันโดยการห้ามเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา สีผิว เพศ สัญชาติ ความคิดเห็นทางการเมือง เสรีภาพในการมีชีวิต เสรีภาพในการที่จะไม่ถูกทาร้าย เสรีภาพในการแสดง ความคิดเห็น เป็นต้น เป็นการกล่าวถึงการจัดตั้งคณะกรรมการการสิทธิมนุษยชน พันธกรณีของรัฐใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3