การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
23 การจัดทารายงานของรัฐภาคี และการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ (กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง, 1966) 2. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2542 มีผล ใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นการกล่าวถึงสิทธิในการกาหนดเจตจานงตนเอง แก่พันธกรณีของรัฐภาคีที่จะดาเนินมาตรการต่างๆอย่างเหมาะสมโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติโดย เป็นอนุสัญญาที่มีเนื้อหาสาระของสิทธิ ได้แก่ สิทธิในการทางาน สิทธิในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิใน ด้านการศึกษา สิทธิด้านสุขภาพ สิทธิในวัฒนธรรมกล่าวถึงพันธกรณีของรัฐในการจัดทารายงาน ประเทศและบทบาทของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณี ร่วมกับกลไกอื่นๆของสหประชาชาติ กล่าวถึงการเข้าเป็นภาคีและการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของ กติกา (กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม, 1996) 3. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ประเทศไทยเข้าเป็นรัฐภาคีเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2528 มีผลใช้บังคับกับไทย เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2528 โดยมีคาจากัดความของคาว่า การเลือกปฏิบัติต่อสตรี พันธกรณีของ รัฐภาคี มาตรการที่รัฐภาคีต้องดาเนินการเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของสตรี ฯลฯ กล่าวถึงความเท่า เทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีเกี่ยวกับการเมืองและวิถีการดารงค์ชีวิต เช่นสิทธิของสตรีที่จะต้องได้รับ การดูแลทางเศรษฐกิจ การป้องกันการก่อให้เกิดความรุนแรงต่อสตรีในสถานที่ทางาน และการเข้าถึง บริการสุขภาพ ฯลฯ ความเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรีในด้านกฎหมาย การจัดตั้งคณะกรรมการการ ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ และการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ กล่าวถึงการมิให้มี ข้อบทของอนุสัญญาที่จะขัดต่อกฎหมายภายในที่ดาเนินการ มากกว่าที่กาหนดไว้ในอนุสัญญาและ กฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่ การนาพันธกรณีไปปฏิบัติในระดับประเทศฯลฯ (อนุสัญญาว่าด้วย การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ, 2522) 4. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และมีผลใช้บังคับกับไทย เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2535 กล่าวถึงหลักการและเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิ ต่างๆที่เด็กพึงได้รับประกอบด้วย สิทธิและเสรีภาพของเด็กโดยทั่วไป การคุ้มครองร่างกาย ชีวิต เสรีภาพ และสวัสดิภาพของเด็ก การให้สวัสดิการสังคมแก่เด็ก การคุ้มครองสิทธิทางแพ่ง การคุ้มครอง เด็กที่มีปัญหาความประพฤติหรือกระทาความผิดทางอาญา การคุ้มครองเด็กผู้ด้อยโอกาสกล่าวถึง หลักเกณฑ์และแบบพิธีซึ่งประเทศที่ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาต้องปฏิบัติตามกล่าวถึงกลไกของ อนุสัญญาซึ่งกาหนดวิธีการติดตามดูแลการปฏิบัติตามอนุสัญญาและกาหนดเงื่อนไขต่างๆในการใช้ บังคับ(อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก, 1989)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3