การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

24 5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546 และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เพื่อบรรลุความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมวลมนุษย์ โดย ไม่มีการแบ่งแยกการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ คือ การจาแนก กีดกัน การจากัดหรือการเอื้ออานวย พิเศษเพราะเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสาย ชาติกาเนิด ชาติตระกูล หรือเผ่าพันธุ์และการดาเนินมาตรการเพื่อ ขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ สังคมโลกที่ปลอดจากการแบ่งแยกและการเลือกปฏิบัติ ทางเชื้อชาติรวมทั้งปัจจัยที่สร้างความเกลียดชังและการแบ่งแยกซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสาคัญของ สหประชาชาติ (อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ, 2508) 6. อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการกระทาอื่นๆที่โหดร้ายไร้ มนุษยธรรมหรือที่ย่ายีศักดิ์ศรี ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และมี ผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นการกล่าวถึงคานิยามของการทรมานโดยมี บทบัญญัติว่าด้วยการกาหนดให้การทรมานเป็นความผิดที่ลงโทษได้ตามกฎหมายอาญาเขตอานาจที่ เป็นสากลเกี่ยวกับความผิดการทรมานและหลักการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกล่าวถึงการนาบทบัญญัติไปใช้ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทรมานซึ่งเป็นองค์กรกากับดูแลประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญอิสระ จานวน10คน ที่แต่งตั้งโดยภาคีสมาชิกและปฏิบัติหน้าที่ในฐานะปัจเจกบุคคลตามความสามารถ คา ร้องเรียนระหว่างรัฐ คาร้องเรียนของปัจเจกบุคคล อานาจคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน กล่าวถึง กระบวนการเข้าเป็นภาคี ผลใช้บังคับการแก้ไขอนุสัญญาโดยเฉพาะข้อสงวน การแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติของอนุสัญญาและการระงับข้อพิพาท (อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการ กระทาอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ายีศักดิ์ศรี, 2527) 7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ประเทศไทยเข้าเป็นรัฐภาคีในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และบังคับใช้กับ ประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551 มีวัตถุประสงค์ คานิยามและหลักการทั่วไป เช่น การ เคารพศักดิ์ในศรีที่มีมาแต่กาเนิด เสรีภาพในการตัดสินใจด้วยตนเอง ความเป็นอิสระของบุคคล การไม่ เลือกปฏิบัติ การมีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพในสังคม การเคารพความแตกต่าง ความ เท่าเทียมของโอกาส และความสามารถในการเข้าถึง ฯลฯ กล่าวถึงพันธกรณีทั่วไป ความเท่าเทียมกัน และการไม่เลือกปฏิบัติ สตรีพิการ เด็กพิการ และการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับคนพิการในสังคม กล่าวถึงสิทธิของคนพิการ เช่นการจ้างงาน สุขภาพ การศึกษา เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพใน การย้ายถิ่นฐาน เสรีภาพจากการถูกทรมาน สิทธิในการสร้างครอบครัว ฯลฯ กล่าวถึงการเก็บ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3