การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

31 3. แก้ไข: ให้การเยียวยาต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในปัจจุบันและที่เกิดขึ้นในอดีตผ่านการ ชดใช้และการฟื้นฟูสภาพ โดยให้การดูแลสุขภาพ การสนับสนุนด้านจิตใจ การให้ความช่วยเหลือทาง กฎหมายหรือ บริการและการสนับสนุนอื่นๆรวมทั้งการช่วยให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้รับการ เข้าถึงการเยียวยาที่มีอยู่และเรียกร้องสิทธิของตนเองอย่างเหมาะสมและได้รับความยุติธรรมตามหลัก สิทธิมนุษยชน (คณะกรรมการคู่มือสเฟียร์, 2560) ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้านสิทธิจากภาครัฐหรือเอกชนต่างก็เป็นองค์ประกอบที่เชื่อมโยง กับทั้ง สามรูปแบบของกิจกรรมโดยทั่วไป ซึ่งภัยคุกคามต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบเกิดจากการ ตัดสินใจโดยเจตนา การกระทาหรือนโยบายตลอดจนการตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองจานวน มากที่ต่างพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมและนโยบายดังกล่าวในสังคม ดังนั้น จากทฤษฎีการคุ้มครองและการตอบสนองด้านมนุษยธรรมเห็นได้ว่าเป็นหลักการ เข้าถึงการเยียวยาและการฟื้นฟูจากการละเมิดหมายความรวมถึงบทบาทของหน่วยงานด้าน มนุษยธรรมในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบเรียกร้องสิทธิและเข้าถึงการเยียวยา เช่น การ แก้ไขกฎหมาย การชดเชย เยียวยาหรือซ่อมแซมความเสียหายของทรัพย์สิน เป็นหลักการที่ให้ ความสาคัญกับการช่วยเหลือประชาชนให้สามารถเอาชนะผลกระทบจากการถูกกระทาละเมิดและ โดยเฉพาะการฟื้นฟูประชาชนจากผลของการละเมิดทางร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคมเป็นการ ตระหนักถึงบริบทที่เป็นอิสระจากความรุนแรงและจากการข่มขู่ของทุกชนิดรวมทั้งการเป็นอิสระจาก การกีดกันโดยเจตนาของวิธีการอยู่รอดอย่างมีศักดิ์ศรีทาให้การคุ้มครองมีความเกี่ยวข้องกับความ ปลอดภัย ศักดิ์ศรีและสิทธิของประชาชนที่ได้รับผลกระทบหรือความเดือดร้อนจากภัยพิบัติหรือความ ขัดแย้งในด้านต่างๆตามกฎบัตรมนุษยธรรมสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีความสาคัญและมีความเกี่ยวข้องกับ การตอบสนองด้านมนุษยธรรมโดยมีวิธีการสร้างแนวปฏิบัติด้านมนุษยธรรมจากสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะวิธีการของหน่วยงานในการหลีกเลี่ยงที่จะนาประชาชนที่ได้รับผลกระทบไปสู่อันตรายอื่นๆ ตลอดจนวิธีการที่หน่วยงานจะสามารถช่วยประชาชนให้มีความมั่นคงและสร้างความปลอดภัยมาก ยิ่งขึ้น 2.6 หลักการเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งของผู้เสียหายในคดีอาญาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 การใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งของผู้เสียหายในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 44/1 ของบทบัญญัติดังกล่าวได้วางหลักการเกี่ยวกับระบบเยียวยาผู้เสียหายโดยจาเลย ในคดีอาญาซึ่งมีพนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องคดีอันเป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องกับแนวคิดในการกาหนด มาตรฐานการชดเชยความเสียหายโดยผู้กระทาความผิดตามปฏิญญาสากลว่าด้วยหลักการพื้นฐานใน การอานวยความยุติธรรมให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมและการใช้อานาจโดยมิชอบ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3