การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

32 ค.ศ. 1985 ในมาตรา 8 บัญญัติให้ผู้กระทาความผิดหรือบุคคลที่สามซึ่งต้องรับผิดในการกระทาของ ตนควรดาเนินการเพื่อเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมครอบครัวหรือ ทายาท นอกจากนั้นการชดเชยค่าเสียหายดังกล่าวรวมถึงการคืนทรัพย์สิน การชดใช้ความเสียหาย หรือการสูญเสียที่เกิดขึ้นการชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เสียไปเนื่องจากการตกเป็นผู้เสียหายหรือเหยื่อ อาชญากรรมการจัดให้มีการช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายหรืออาชญากรรมและการชดเชยสิทธิที่เสียไป และ ในมาตรา 9 ซึ่งบัญญัติให้รัฐต้องทบทวนแนวปฏิบัติกฎระเบียบและกฎหมายต่างๆเพื่อพิจารณาให้การ ชดใช้ด้วยการชดเชยความเสียหายโดยผู้กระทาผิดเป็นทางเลือกในการลงโทษที่เป็นไปได้ในความ เสียหายจากการกระทาความผิดอาญาสามารถเรียกร้องค่าเสียหายในคดีอาญาที่มีพนักงานอัยการเป็น โจทก์เพิ่มเติมจากค่าราคาทรัพย์ซึ่งอยู่ในอานาจที่พนักงานอัยการที่จะเรียกให้ได้ตามหลักเกณฑ์ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการ เยียวยาความเสียหายทุกประเภทด้วยความรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ ศาลและกระบวนพิจารณาที่ไม่จาเป็นและเพื่อให้การกาหนดค่าสินไหมทดแทนเป็นไปด้วยความ ถูกต้องเที่ยงธรรมมากที่สุดซึ่งในการดาเนินการทางแพ่งเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐนั้นเป็น แนวความคิดที่มีความแตกต่างจากการดาเนินการในทางอาญาเพราะในการดาเนินการทางแพ่งนั้นรัฐ ซึ่งเป็นคู่กรณีกับเอกชนจะได้รับหรือเสียประโยชน์โดยตรงส่วนหลักการทางอาญานั้นเป็นเรื่องที่รัฐ ไม่ได้เสียหายโดยตรงจากการกระทาผิดเพียงแต่ถือว่ารัฐซึ่งมีหน้าที่รักษาความเรียบร้อยของสังคม ได้รับผลกระทบจากการกระทาความผิดด้วย ในกระบวนการยุติธรรมมีองค์กรอัยการเป็นองค์กรสาคัญที่ทาหน้าอานวยความยุติธรรมทาง อาญาให้แก่คู่ความทุกฝ่ายในคดีโดยพนักงานอัยการมีอานาจในการอานวยความยุติธรรมทางอาญาคือ การฟ้องคดี และการดาเนินคดีอาญาแทนรัฐและผู้เสียหายมีอานาจในการคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐ คือการฟ้องคดีและการดาเนินคดีแพ่งแทนรัฐอีกทั้งเป็นทนายว่าต่างแก้ต่างคดีอาญาหรือคดีแพ่งแทน รัฐรวมถึงการบังคับคดีตามคาพิพากษาบางกรณีและยังมีอานาจในการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนเมื่อมีผู้กระทาความผิดอาญาเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายถือได้ว่า บุคคลนั้นกระทาละเมิดต่อผู้เสียหายด้วย ผู้เสียหายจึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐาน ละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยผู้เสียหายอาจเลือกฟ้องเป็นคดีแพ่งโดยลาพังหรือ อาจยื่นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาด้วยตนเองก็ได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 เป็นการกาหนดให้ที่ผู้เสียหายใช้สิทธิยื่นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวกับคดีอาญา โดยการพิจารณา คดีแพ่งก็ต้องดาเนินการตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งการที่ผู้เสียหาย ใช้สิทธิดาเนินคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาด้วยตนเองเช่นนี้กฎหมายมิได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้ อย่างไรก็ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 ที่เกี่ยวข้องกับการลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอกหรือรับของโจร ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3