การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

33 เรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปจากการกระทาผิดคืน ได้เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้อง คดีอาญาก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย”ให้อานาจพนักงานอัยการในการยื่นคาร้อง ให้จาเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการดาเนินคดีกับจาเลยได้ เนื่องจากถือว่าเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา กฎหมายจึงมุ่งที่จะรวมการพิจารณาคดีแพ่งและ คดีอาญาที่มีเนื้อหาหรือมูลคดีเรื่องเดียวกันเข้าด้วยกันเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดาเนินกระบวน พิจารณาของศาลและคู่ความ อย่างไรก็ดีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 ก็ยังไม่ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เสียหายในการได้รับการเยียวยาความเสียหายจากผู้กระทา ผิดได้อย่างทั่วถึงเพราะการใช้สิทธิทางแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญามาตรา 43 นั้นถูกจากัดให้ทาได้เฉพาะในคดีที่เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เพียง 9 ฐานความผิดตามที่ได้กาหนดไว้ในมาตรา 43 อีกทั้งค่าสินไหมทดแทนที่จะเรียกได้ก็มีเพียงการขอให้ คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ถูกประทุษร้ายเท่านั้นพนักงานอัยการจะใช้อานาจเรียกให้จาเลยชดใช้ค่า สินไหมทดแทนอื่นๆนอกจากการขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ไม่ได้ผู้เสียหายจะต้องไปฟ้องเรียกค่า สินไหมทดแทนด้วยตนเองโดยเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆเหมือนคดีแพ่งทั่วไปทาให้เกิด ภาระและความยุ่งยากแก่ผู้เสียหาย นอกยังนี้ยังมีมาตรา 44 บัญญัติว่า“การเรียกทรัพย์สินหรือราคา คืนตามมาตราก่อนพนักงานอัยการจะขอรวมไปกับคดีอาญาหรือจะยื่นคาร้องในระยะใดระหว่างที่ คดีอาญากาลังพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นก็ได้คาพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคาให้รวมเป็น ส่วนหนึ่งแห่งคาพิพากษาในคดีอาญา”ให้อานาจพนักงานอัยการในการยื่นคาร้องให้จาเลยคืนหรือใช้ ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการดาเนินคดีกับจาเลยได้เช่นเดียวกัน การดาเนินคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของไทยได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฉบับที่ 24 พ.ศ. 2548 ในชั้นของการยกร่างแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาคณะผู้ยกร่างได้พิจารณาศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด และรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหายในคดีอาญาออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบของ ประเทศที่มีระบบกฎหมายแบบ Common Law ซึ่งเป็นระบบที่ให้ศาลมีคาสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนไปในคดีอาญาถือเป็นระบบที่รัฐดาเนินการแทนผู้เสียหายแต่ระบบนี้มีข้อจากัดเนื่องจาก ผู้เสียหายมิได้เป็นผู้ยื่นคาร้องเองประกอบกับการสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นศาลจะสั่งได้ใน จานวนเงินที่จากัดไว้ตามกฎหมายหากศาลมีคาสั่งให้ผู้กระทาผิดอาญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่เต็ม ตามความเสียหายที่ได้รับจริงผู้เสียหายต้องไปดาเนินการฟ้องร้องทางแพ่งเพิ่มเติมทาให้คดียังไม่เสร็จ สิ้นเด็ดขาดและรูปแบบที่ใช้ในภาคพื้นยุโรปหรือในประเทศที่มีระบบกฎหมายแบบ Civil Law ซึ่งเป็น ระบบที่กาหนดให้ผู้เสียหายเป็นผู้เริ่มคดีและเข้ามาในคดีเพื่อขอค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาเมื่อ ผู้เสียหายเข้ามาในคดีอาญาเพื่อขอค่าสินไหมทดแทนแล้วให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะไป ฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3