การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
34 โดยคณะผู้ยกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฉบับที่ 24 พ.ศ. 2548 ได้เลือกรูปแบบที่ 2 ซึ่งมีผลดีในด้านที่จะไม่เป็นภาระของรัฐและทาให้ผู้เสียหายได้มี โอกาสแสดงความประสงค์ต้องการของตนโดยบัญญัติเพิ่มเติมมาตรา 44/1 ว่า คดีที่พนักงานอัยการ เป็นโจทก์ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินจากความผิดที่จาเลยไกระทา ผู้เสียหายจะยื่นคาร้องขอให้บังคับ จาเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ โดยต้องยื่นคาร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ถ้าไม่มีการสืบพยานให้ ยื่นคาร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี ซึ่งเป็นคาฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่ง ในคาร้องต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหาย จานวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคาร้องนั้นยังขาดสาระสาคัญบางเรื่องศาลอาจมี คาสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคาร้องให้ชัดเจนก็ได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, 2477) ประเภทของคดีที่ขอให้จาเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้และประเภทคดีที่กฎหมายให้สิทธิแก่ ผู้เสียหายที่จะยื่นคาร้องต่อศาลตามมาตรา 44/1 วรรคหนึ่งเพื่อขอให้บังคับจาเลยชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนให้แก่ตนได้แก่ คดีอาญาที่การกระทาความผิดทางอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจาเลยนั้นทาให้ ผู้เสียหายได้รับความเสียหายทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือมีมูลเหตุมาจากการกระทาผิดอาญา และเฉพาะแต่คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์เท่านั้นซึ่งหากเป็นคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจาเลย ต่อศาลด้วยตนเองผู้เสียหายย่อมไม่มีสิทธิที่จะยื่นคาร้องตามมาตรานี้ได้และผู้เสียหายรายอื่นย่อมไม่มี สิทธิที่จะยื่นคาร้องบังคับให้จาเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเข้าไปในคดีอาญาได้ ทั้งนี้ในส่วนของผู้มี สิทธิยื่นคาร้องขอให้จาเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 ได้นั้นจะต้องเป็นผู้เสียหายที่ ปรากฏอยู่ในคาฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์และเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญามาตรา2(4) ด้วย ทั้งนี้ค่าสินไหมทดแทนที่มีสิทธิเรียกร้องได้ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/1 มีความหมายตรงกับคาว่า “ค่าสินไหมทดแทน” ที่ผู้ทา ละเมิดจะต้องชดใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 438 วรรคสองได้แก่การคืน ทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์นั้นรวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับ ให้ใช้เพื่อความเสียหายใดๆอันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย บทบัญญัติเพิ่มเติมมาตรา 44/1 นี้เป็นมาตรการให้ผู้เสียหายเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมใน คดีอาญาที่มีพนักงานอัยการเป็นโจทก์เพิ่มเติมจากอานาจของพนักงานอัยการตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาความเสียหาย ทุกประเภทด้วยความรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลและกระบวน พิจารณาที่ไม่จาเป็นและเพื่อให้การกาหนดค่าสินไหมทดแทนเป็นไปด้วยความถูกต้องเที่ยงธรรมมาก ที่สุด (สาธิดา คุลิเมคิน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี วรภัทร์, 2562)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3