การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

38 ไทยแต่อย่างใดถือเป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยที่มีความตั้งใจในการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนรวมทั้งเห็นความสาคัญของการแก้ไขปัญหาการบังคับให้บุคคลสูญหาย เท่านั้น 2.7.2 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights ICCPR) เป็นพันธกรณีของรัฐด้านสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตรสหประชาชาติซึ่งกล่าวถึงหน้าที่ของ บุคคลที่จะสนับสนุนมุ่งคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยได้รับสิทธิด้านต่างๆทั้งทางพลเมือง การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเป็นมาตรฐานเดียวกัน สิทธิในการกาหนดเจตจานงตนเอง ซึ่งรัฐภาคีที่ รับรองจะเคารพและมีการรับประกันสิทธิของบุคคลตลอดถึงการห้ามการเลือกปฏิบัติทุกกรณี โดยจะ ดาเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติภายในประเทศ ซึ่งประกันว่าบุคคลที่ถูกละเมิดจะได้รับการเยียวยา ไม่ว่าบุรุษหรือสตรีจะได้รับสิทธิพลเมืองและการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน การลิดรอนสิทธิใน สถานการณ์ฉุกเฉินและการห้ามการตีความกติกาในอันที่จะไปจากัดสิทธิและเสรีภาพอื่นๆเช่น สิทธิใน การมีชีวิตอยู่ เสรีภาพจากการถูกทรมานหรือทาร้าย การห้ามบุคคลไม่ให้อยู่ในฐานะทาส การห้าม บุคคลให้มีการถูกจับกุมตามอาเภอใจ เสรีภาพในการอพยพย้ายถิ่นฐาน ความเท่าเทียมกันของบุคคล ภายใต้กฎหมาย การห้ามมีการบังคับใช้กฎหมายอาญาย้อนหลัง สิทธิการได้รับรองเป็นบุคคลตาม กฎหมาย การห้ามเกี่ยวข้องเรื่องส่วนตัว เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิทธิที่จะชุมนุมอย่างสงบ การรับรองว่าบุคคลทั้งปวงย่อมเสมอภาคกันตามกฎหมายและได้รับการคุ้มครอง อย่างเท่าเทียมกัน การรับรองสิทธิของชนกลุ่มน้อยทางเผ่าพันธุ์ ศาสนาและภาษาภายในรัฐ เป็นต้น โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีบทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติตาม พันธกรณีที่กาหนดไว้ในกติกาและเสนอรายงานของรัฐภาคีที่มีการยอมรับอานาจของคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนและขั้นตอนการพิจารณาข้อร้องเรียนห้ามการตีความไปในทางขัดกับกฎหมายระหว่าง ประเทศอื่นๆรวมทั้งการมิให้ตีความในการที่จะลิดรอนสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติกา ICCPR โดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมี ผลใช้บังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2540 โดยไม่มีการตั้งข้อสงวนแต่ได้ทาคา แถลงตีความไว้ 4 ประเด็น ได้แก่ 1. ข้อบทที่ 1 วรรคหนึ่ง เรื่องการใช้สิทธิในการกาหนดเจตจานงของตนเอง การกาหนด สถานะทางการเมือง การดาเนินการทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อย่างเสรี 2. ข้อบทที่ 6 วรรคห้า การพิพากษาประหารชีวิตบุคคลอายุต่ากว่า 18 ปี 3. ข้อบทที่ 9 วรรคสาม ระยะเวลาในการนาผู้ถูกจับกุมไปศาลและ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3