การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
50 1. คณะกรรมการค้นหาแห่งชาติ ประกอบด้วยตัวแทนจากสานักงานอัยการ ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประธานสิทธิมนุษยชน เจ้าหน้าที่ชันสูตร พลิกศพจากสถาบันนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์แห่งชาติตัวแทนสมาคมญาติของผู้สูญหาย และองค์กร พัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสอบสวนในกรณีเกิดการบังคับ บุคคลให้สูญหายโดยไม่คานึงว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังมีการตั้งคณะกรรมการ ค้นหาแห่งชาติและในการทางานจะมีการตั้งคณะทางานเฉพาะกิจขึ้นมารวมถึงมีการจัดทาแผนการ ค้นหาแห่งชาติ ซึ่งแผนดังกล่าวนี้จะมีการกาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการค้นหาและการระบุ เอกลักษณ์บุคคลพร้อมทั้งประเมินผลและดาเนินการตามแผนดังกล่าวและคณะกรรมการดังกล่าวยัง ทาหน้าที่กากับดูแลศูนย์ทะเบียนคนหายแห่งชาติใช้ในการรวบรวมข้อมูลอีกด้วยโดยเมื่อมีการร้องขอ จากครอบครัวของบุคคลที่สูญหายคณะกรรมการค้นหาแห่งชาติจะร้องขอต่อศาลให้อนุญาตเข้ามามี ส่วนในการดาเนินการค้นหาร่างผู้สูญหายหรือทาการระบุเอกลักษณ์บุคคล นอกจากนี้ศาลอาจมีคาสั่ง ให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยในการค้นหาผู้สูญหายหรือระบุเอกลักษณ์ 2. ศูนย์ทะเบียนคนหายแห่งชาติ เป็นสาระบบที่บันทึกข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือโดย อยู่ในการบริหารงานของสถาบันนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์แห่งชาติมีจุดมุ่งหมายของการจัดตั้งศูนย์ ทะเบียนคนหายแห่งชาติ คือ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้รัฐสร้างนโยบายในการป้องกันการเกิดกรณีการ บังคับบุคคลให้สูญหายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาและการระบุ เอกลักษณ์ของบุคคลที่สูญหาย มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้มีการลักลอบ เข้าถึงฐานข้อมูลดังกล่าวข้อมูลของศูนย์ทะเบียนคนหายแห่งนี้เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัยและมี ประโยชน์ในการช่วยระบุเอกลักษณ์บุคคลของชิ้นส่วนที่ส่งมาตรวจพิสูจน์ทางนิติเวช นอกจากนี้ยัง อาศัยข้อมูลดังกล่าวเพื่อป้องกันและควบคุมการเกิดกรณีการบังคับบุคคลให้สูญหายมีการบันทึก รายละเอียดเกี่ยวกับผู้สูญหายสถานที่และวันที่หายตัวเพื่อใช้เป็นแนวทางในการค้นหาบุคคลที่มีการ รายงานว่าถูกบังคับให้สูญหายและอานวยความสะดวกในการสอบสวนคดีและการดาเนินการของ กลไกค้นหาเร่งด่วนมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพเพื่อระบุเอกลักษณ์บุคคลของศพ รวมถึงข้อมูลของศพที่ไม่สามารถระบุเอกลักษณ์บุคคลได้นอกจากนี้ยังมีกลไกที่นามาอานวยความ สะดวกในการระบุเอกลักษณ์ประจาตัวของบุคคลโดยการสร้างศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมขึ้นมามีการเก็บ ตัวอย่างอ้างอิงทางชีววิทยา เช่น เลือด หรือเซลล์กระดูกที่ได้มาจากศพและจากญาติของผู้สูญหาย 3. แผนการค้นหาแห่งชาติ จัดทาขึ้นเพื่อกาหนดว่าใครคือผู้สูญหายสาเหตุเกิดจาก อะไรและความเป็นไปได้ของสถานที่อยู่ของผู้สูญหายอาจช่วยกาหนดระดับและรูปแบบของการบังคับ บุคคลให้สูญหายรวมทั้งกลุ่มประชากรที่น่าจะเป็นเหยื่อสถานการณ์และบริบททางสังคมและการเมือง ที่ทาให้เกิดการสูญหายแรงจูงใจสาหรับความผิดทางอาญาดังกล่าวตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3