การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
56 รัฐประหาร จึงผลักดันให้เอาผิดผู้กระทาทั้งหมดผ่านการประท้วงซึ่งสร้างความระส่าระส่ายต่อผู้นา กองทัพที่ต้องยอมรับนโยบายของรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นทาให้สามารถเอาผิดก่อนที่กองทัพจะ กลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง ส่วนด้านการเยียวยาและชดเชยให้เหยื่อนั้น ทางกลุ่มเรียกร้องให้เด็กที่ยัง มีชีวิตอยู่กลับสู่ครอบครัวของเขาพร้อมกับเอกสารประจาตัวใหม่รวมถึงให้มีการเยียวยาช่วยเหลือ ทางด้านเศรษฐกิจและการฟื้นฟูทางจิตใจ (เอกทิพย์ เฟื่องฟุ้ง, 2563) จะเห็นได้ว่าในช่วงต้นของการ เปลี่ยนผ่านอาร์เจนตินาสามารถริเริ่มกระบวนการยุติธรรมได้ก้าวหน้าที่สุดทาไมอาร์เจนตินาก้าวไกล กว่าประเทศอื่น โดยมี Pion-Berlin ได้วิเคราะห์ปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศ 5 ข้อที่สร้าง เงื่อนไข ‘ช่วย’ หรือ ‘ฉุดรั้ง’ รัฐบาลพลเรือนในการทวงคืนความยุติธรรมให้แก่เหยื่ออุ้มหายและการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหารทั้งปวงด้วยกระบวนการยุติธรรมยุคเปลี่ยนผ่าน ออกมาได้ คือ รูปแบบและความโหดเหี้ยมของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ความสมดุลเชิงอานาจ ระหว่างองค์กรทหารและพลเรือน ทัศนคติของชนชั้นผู้นาทางการเมือง แรงกดดันและการเคลื่อนไหว จากภาคประชาสังคมและคณิตศาสตร์ทางการเมือง จากโครงสร้างและบริบททางการเมือง ณ เวลา ของการเปลี่ยนผ่าน จนกระทั้งปีค.ศ. 2003-2007 ได้ประธานาธิบดีคนใหม่คือ เนสเตอร์ เคียร์ชเนอร์ จึง สามารถผลักดันให้มีการดาเนินคดีได้ โดยศาลก็รับบทบาทตามอย่างทันท่วงทีนาไปสู่คาตัดสินยกเลิก กฎหมายนิรโทษกรรม ปัจจุบันนี้การริเริ่มกระบวนการหาข้อเท็จจริง แก้ไข ป้องกันและเยียวยา ผลกระทบจากการบังคับสูญหายที่เกิดต่อพลเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่งอย่างเช่นกรณีอย่างวัน เฉลิมนั้นมีแนวทางหลากหลายให้ประเทศที่มีเจตจานงทางการเมืองได้เลือกนามาปรับใช้ไม่ว่าจะเป็น กลไกตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูก บังคับซึ่งเกิดขึ้นจากผลพวงของการเคลื่อนไหวอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยขององค์กรภาคประชาสังคมที่ ริเริ่มในภูมิภาคละตินอเมริกาและเป็นตัวบทกฎหมายที่เปิดทางให้ครอบครัวของวันเฉลิมเรียกร้องให้ สหประชาชาติออกจดหมายเร่งด่วนแก่ทางการกัมพูชาได้ อีกช่องทางหนึ่งคือ ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วย ศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งถือให้การบังคับสูญหายเป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ (Ilaw.Or.Th, 2563) จากปัญหาการบังคับสูญหายในประเทศอาร์เจนตินาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน ได้มีการ ลงนามให้สัตยาบันเข้าเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาการป้องกันการบังคับบุคคลให้สูญหายที่ถือได้ว่าเป็น จุดเริ่มต้นจากการเรียกร้องของกลุ่มญาติผู้สูญหายในประเทศอาร์เจนตินาช่วงศตวรรษที่ 20 ระหว่าง ค.ศ. 1976-1983 เป็นช่วงระบอบการปกครองเผด็จการขวาจัดโดยอาร์เจนตินามีสถิติการบังคับคนให้ สูญหายสูงถึงราว 30,000 คนในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 10 ปี อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็ไม่สามารถเอา ผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐได้เนื่องจากยังไม่มีการบัญญัติโทษของอาชญากรรมที่เกิดจากการบังคับคนให้สูญ หายในเวลานั้น ต่อมากลุ่มญาติผู้สูญหายและองค์กรภาคประชาสังคมจึงเริ่มผลักดันให้เกิดคานิยาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3