การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
60 อาญาของผู้อื่นโดยตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทาผิดที่ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือเยียวยา จากรัฐเมื่อถูกกระทาละเมิดเช่นเดียวกับคดีทั่ว ๆไป 2.9.3 พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทา ในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้อง เจ้าหน้าที่ไม่ได้ ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง ถ้าการกระทาละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทาในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้อง รับผิดเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรงแต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐ ไม่ได้ ตามมาตรา 6 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิด ของ เจ้าหน้าที่ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทาละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว แก่หน่วยงานของรัฐได้ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทาการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรง สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใดให้คานึงถึงระดับ ความร้ายแรงแห่งการกระทาและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจานวน ของความเสียหายก็ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการ ดาเนินงาน ส่วนรวมให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนมิให้นาหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ และเจ้าหน้าที่ แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น ตามมาตรา 8 (พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่, 2539) ดังนั้น จากที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นแสดงให้เห็นว่าลักษณะของการบังคับบุคคลให้สูญ หายเป็นการกระทาละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นในทางแพ่งโดยเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กระทาผิดแล้วจึงต้อง พิจารณาตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 หากปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ไปกระทาละเมิดครบองค์ประกอบตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐไปกระทาการบังคับบุคคลให้สูญหายขึ้น โดยถือว่าเป็นการกระทาต่อเสรีภาพของผู้อื่น โดยมิชอบด้วยกฎหมายทาให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหายและการกระทานั้นเกิดขึ้นในระหว่างการ ปฏิบัติหน้าที่หรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ กรณีดังกล่าวผู้เสียหายอาจฟ้องเรียกค่าสินไหม ทดแทนจากหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวสังกัดอยู่ได้โดยตรงแต่ไม่อาจฟ้องให้เจ้าหน้าที่รับ ผิดได้แต่ถ้าหากการกระทาละเมิดของเจ้าหน้าที่นั้นมิใช่การกระทาในการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ต้อง รับผิดในการละเมิดนั้นเป็นการเฉพาะตัว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3