การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
65 ให้สูญหายก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โดยผู้นั้นมิได้รับอันตรายสาหัสหรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็น อันตรายต่อชีวิต หรือให้ข้อมูลที่สาคัญและเป็นประโยชน์ในการดาเนินคดี ศาลจะลงโทษผู้กระทา ความผิดน้อยกว่าที่กฎหมายกาหนดเพียงใดก็ได้ (พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การทรมาน และการกระทาให้บุคคลสูญหาย, 2565) ดังนั้น สาระสาคัญของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการ กระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ที่ได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 (จะให้ใช้ บังคับเมื่อพ้นกาหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป) ที่ได้กล่าวไว้ แล้วข้างต้นเห็นได้ว่ามีการกาหนดบทนิยามความหมายการบังคับสูญหาย นิยามผู้เสียหายที่ได้ ครอบคลุมไปถึงญาติ และบุคคลภายในครอบครัวของเหยื่อ มีการบัญญัติให้การบังคับบุคคลให้สูญ หายเป็นการกระทาความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นการประกาศใช้ พระราชบัญญัตินี้เพื่อมุ่งเน้นบทลงโทษผู้กระทาความผิดเป็นสาคัญ อย่างไรก็ตามเป็นเพียงการ ประกาศว่าจะใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ในการแก้ไขปัญหาการบังคับให้สูญหายในสังคมไทยเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผลใช้บังคับ อย่างชัดเจนกับประเทศไทยแต่อย่างใด 2.9.5 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นหลักกฎหมายเกี่ยวข้องกับเรื่องของผู้เสียหาย คือบุคคลที่ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทาความผิดหรืออาชญากรรมซึ่งอาชญากรรมส่วนใหญ่ก็มักจะมีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของ อาชญากรรมนั้นเสมอเว้นแต่อาชญากรรมบางอย่างที่ตัวผู้กระทาความผิดเป็นเหยื่อเองซึ่งตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเรียกเหยื่อของอาชญากรรมว่า “ ผู้เสียหาย ” ดังนี้ บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทาผิดฐานใดฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มี อานาจจัดการแทนได้ บัญญัติไว้ในมาตรา 4 มาตรา 5และมาตรา 6 ดังนั้นจากบทบัญญัติของ กฎหมายผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มี 2 ประเภท คือ ผู้เสียหายที่แท้จริง “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทาผิดฐานใด ฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอานาจจัดการแทนได้ดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา4,5และ6 ตามมาตรา 2 (4) ผู้มีอานาจจัดการแทนผู้เสียหาย บุคคลดั่งระบุในมาตรา 4,5 และ 6 มีอานาจจัดการต่อไปนี้แทนผู้เสียหายตามเงื่อนไข ที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ คือ ร้องทุกข์ เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงาน อัยการ เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ถอนฟ้องคดีอาญาหรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับ คดีอาญาหรือยอมความในคดีความผิดส่วนตัวได้ตามมาตรา 3
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3