การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
66 ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นหญิงมีสามี หญิงนั้นมีสิทธิฟ้องคดีได้เองโดยมิต้องได้รับ อนุญาตของสามีก่อน วรรคสอง ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 5(2) สามีมีสิทธิฟ้องคดีอาญาแทนภริยาได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยาตามมาตรา 4 บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้ คือ ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลเฉพาะ แต่ในความผิดซึ่งได้กระทาต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทาร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะ จัดการเองได้ ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆของนิติบุคคลเฉพาะความผิดซึ่งกระทาลงแก่นิติบุคคลนั้นตาม มาตรา 5 ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือเป็นผู้วิกลจริตหรือ คนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาลหรือซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทาการตาม หน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถนั้น ๆ ญาติ ของผู้นั้น หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ วรรคสอง เมื่อ ได้ไต่สวนแล้วให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่นซึ่งยินยอมตามที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดี เมื่อไม่มี บุคคลใดเป็นผู้แทนให้ศาลตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน วรรคสาม ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียม ในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดีตามมาตรา 6 การขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคาร้องขอเข้าร่วม เป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้ มาตรา 31 คดีอาญาที่มิใช่ ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้ว พนักงานอัยการจะยื่นคาร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะ ใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดก็ได้ตามมาตรา 30 (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, 2477) ดังนั้น จากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 ในส่วนของการ เป็นผู้เสียหายแสดงให้เห็นถึงปัญหาของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อในคดีที่เกี่ยวกับการสูญหายตามกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาของไทยไม่คุ้มครองถึงครอบครัวของผู้สูญหายเนื่องจากตามกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญามาตรา 2(4) “ผู้เสียหาย ”หมายความถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทา ผิดฐานใดฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอานาจจัดการแทนได้ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4,5และ6 เนื่องจาก ปัญหาการสูญหายที่เกิดขึ้นนั้นต้องพิสูจน์เป็นที่ประจักษ์แก่ศาลว่า “ผู้ที่สูญหาย (ผู้เสียหาย) ถูกทาร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”ซึ่งปัญหาการสูญหายนี้เป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถ กระทาการพิสูจน์เป็นที่ประจักษ์แก่ศาลได้ในขณะเดียวกันการที่ผู้ใดจะเป็นผู้มีอานาจจัดการแทนก็ จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยเฉพาะบิดามารดา บุตร สามีหรือภริยาที่จะเป็นผู้มีอานาจจัดการแทนได้ก็ต่อเมื่อผู้เสียหายถูกทาร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่ สามารถจัดการเองได้แต่การบังคับสูญหายมักจะเป็นกรณีที่ไม่มีใครทราบถึงชะตากรรม ความเป็นอยู่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3