การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

69 - พระราชกาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ประเภทร้ายแรง พ.ศ. 2548 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 – ปัจจุบันโดยประกาศใช้ทุกสามเดือนเฉพาะในพื้นที่ ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส เนื่องจากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัด นราธิวาสและอีกสี่อาเภอในจังหวัดสงขลา ได้แก่ อาเภอจะนะ อาเภอนาทวี อาเภอเทพา และ อาเภอสะบ้าย้อย มีการบังคับใช้กฎหมายพิเศษหลายฉบับ ซึ่งในอนาคตจะมีการใช้พระราชบัญญัติ ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2550เพิ่มเติมขึ้นอีก กฎหมายพิเศษดังกล่าวมีบทบัญญัติและ ระเบียบปฏิบัติที่ให้อานาจแก่เจ้าพนักงานของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่แตกต่างไปจากหลักและวิธีการใช้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้นจึงเกิดความสับสนแก่ประชาชนที่จะต้องสงสัยว่า กระทาความผิดเนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจจะหยิบกฎหมายฉบับใดมาบังคับใช้ก็ได้หรืออาจจะใช้ กฎหมายพิเศษหลายฉบับไปพร้อม ๆกันก็ได้ เช่น กรณีการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยว่ากระทาความผิด เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวไว้ได้7วัน ตามพระราชกาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากในบางกรณีเจ้าหน้าที่อาจมีคาสั่งห้ามเยี่ยม 3 วัน หรือมากกว่า ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิ ผู้ต้องหาอันขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่ากรอบกฎหมายในสถานการณ์ ฉุกเฉินซึ่งมีผลบังคับใช้ในภาคใต้ของไทยเป็นเหตุให้การทาหน้าที่ปราบปรามของรัฐไม่เป็นไปตาม หลักการคุ้มครองตามหลักนิติธรรมโดยเฉพาะข้อกาหนดเกี่ยวกับการควบคุมตัวส่งผลให้เกิดการบังคับ บุคคลให้สูญหาย กฎอัยการศึกซึ่งมีการประกาศใช้ในภาคใต้ยาวนานกว่ากฎหมายฉบับอื่นเปิดโอกาส ให้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวบุคคลมากถึง7 วันเพื่อสอบปากคาโดยไม่ต้องมีหมายศาลไม่ต้องขอ อานาจตรวจสอบจากศาลและเป็นการปฏิเสธสิทธิที่จะขอให้มีการตรวจสอบความชอบของการ ควบคุมตัวหรือที่เรียกว่า habeas corpus คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลพบว่ามักไม่มีการ เปิดเผยข้อมูลสถานที่ควบคุมตัว และส่วนใหญ่คนที่ถูกจับจะถูกควบคุมตัวในค่ายทหารหรือในสถานที่ ชั่วคราวบาง (ปรีดา โพธิจันทร., 2563) ดังนั้น มาตรการปราบปรามยาเสพติดที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติอย่างรุนแรงและหลายครั้ง หลายกรณีที่บุคคลที่เป็นภัยผู้มีอานาจไม่ว่าจะเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง นักเรียกร้องสิทธิ มนุษยชน บุคคลผู้ต้องสงสัยภายใต้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ถูกคุกคามและควบคุมตัวด้วยทั้งยัง กระบวนการนอกเหนือจากระบบยุติธรรมและละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งตราบใดที่ยังไม่มีการบังคับใช้ กฎหมายที่มีการควบคุมพฤติการณ์ขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่และการกาหนดโทษทัณฑ์ที่ชัดเจน ปัญหา การบังคับบุคคลให้สูญหายก็จะยังเกิดขึ้นในประเทศไทยต่อไปจนกว่าจะมีมาตรการในการป้องกัน ปราบปรามและคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวของเหยื่อผู้สูญหาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3