การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

70 2.10 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิจัยเรื่อง “มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับ สูญหาย” มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาของงานวิจัยดังนี้ งานวิจัยศึกษาเรื่อง ผลกระทบในเชิงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเมื่อไม่มีกฎหมาย บังคับใช้โดยเฉพาะกับปัญหาการบังคับสูญหาย ปณิธาน พิมลวิชยากิจ (2562) นาเสนอถึงการที่ ประเทศไทยยังไม่มีการบังคับใช้บทบัญญัติทางกฎหมายสาหรับการบังคับสูญหายโดยเฉพาะส่งผล กระทบต่อการดาเนินคดีการบังคับสูญหายทั้งผลกระทบในเชิงของตัวบทกฎหมายและผลกระทบใน เชิงกระบวนการยุติธรรม ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบในเชิงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมจาก การที่ไม่มีกฎหมายสาหรับการบังคับสูญหาย คือ การที่การบังคับสูญหายยังไม่เป็นอาชญากรรมและ ด้วยเหตุที่ไม่มีกฎหมายที่กาหนดความผิดนั้นจึงไม่มีการกาหนดมาตรการหรือกระบวนการที่จะใช้ พิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการบังคับสูญหายเป็นการเฉพาะทาให้การบังคับสูญหายอยู่ในสภาวะลอยตัวอยู่ เหนือกฎหมายไม่มีมาตรการที่สามารถนามาใช้ได้อย่างชัดเจนทั้งที่เป็นการกระทาที่ละเมิดต่อศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรงนอกจากการไม่มีกระบวนการที่สามารถบังคับใช้แล้ว กระบวนการอื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ไม่สามารถนามาปรับใช้กับเรื่องการบังคับสูญหายได้อย่างเหมาะสมเพียงพอ ดังนั้น จึงต้องมีการกาหนดให้การบังคับสูญหายเป็นอาชญากรรมโดยเร็ว โดยการบังคับใช้กฎหมายสาหรับ การบังคับสูญหายเป็นการเฉพาะซึ่งกฎหมายนั้นต้องมีข้อความที่ให้คานิยามถึงลักษณะของการบังคับ สูญหายและกาหนดองค์ประกอบความผิดของการบังคับสูญหายให้ชัดเจนมิให้ถูกตีความลักษณะ ซ้าซ้อนกับอาชญากรรมประเภทอื่น งานวิจัยศึกษาเรื่อง 86 ชีวิตที่ถูกบังคับบุคคลให้สูญหายในไทยกับหลักสิทธิมนุษยชนและ กระบวนการการคุ้มครองบุคคลจากการบังคับสูญหายในไทย ปรีดา โพธิจันทร์ (2563) นาเสนอถึง กระบวนการในการคุ้มครองบุคคลจากการบังคับสูญหายที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับว่าการบังคับสูญหาย เป็นความผิดอาญา ผลการวิจัยพบว่า การบังคับบุคคลให้สูญหาย นิยามตามอนุสัญญาอนุสัญญา ระหว่างประเทศว่าด้วยการ คุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ คือการจับและ ควบคุมตัว ลักพาตัว หรือ วิธีการอื่นใดในการทาให้บุคคลสูญเสียอิสรภาพ กระทาโดยตัวแทนของรัฐ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลโดยการอนุญาตการสนับสนุนหรือการรู้เห็นเป็นใจจากรัฐ และรัฐปฏิเสธการ กระทานั้นหรือโดยปกปิดชะตากรรมหรือสถานที่อยู่ของบุคคลนั้นทาให้บุคคลนั้นต้องตกอยู่ภายนอก ความคุ้มครองของกฎหมาย จากกรณีการบังคับบุคคลให้สูญหายจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้ง 86 คนทา ให้ทราบถึงการกระทาที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หลายกรณีที่มีความอุกอาจและสร้างความหวาดหวั่น ต่อหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทยไม่ว่าจะเป็นกรณีจากการปราบปรามยาเสพติดทาง ภาคเหนือในหลายกรณีหรือการหายตัวไปของทนายความมุสลิมผู้เรียงร้องสิทธิให้กับ 5 ผู้ต้องหาใน เหตุการณ์ปล้นปืนที่ค่ายปิเหล็งเมื่อเดือนมีนาคม 2547และการหายตัวไปของนักกิจกรรมชาติ พันธุ์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3