การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

71 ชาวกะเหรี่ยงเมื่อเดือนเมษายน 2557 ซึ่งปัจจุบันได้ค้นพบกระดูกและยืนยันตัวบุคคลได้เมื่อไม่นานมา นี้ โดยที่ผ่านมาทางการไทยไม่สามารถคลี่คลายคดีการหายตัวไปเหล่านี้ได้สาเร็จเลยซึ่งบทความจาก Human Rights Watch เรื่อง ประเทศไทย: ปฏิบัติตามขั้นตอนสุดท้ายของการ รับรองอนุสัญญาคน หาย ออกกฎหมายเพื่อลงโทษการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายได้กล่าวไว้ว่า “รัฐบาลไทย ชุดที่ผ่านๆมามักบอกปัดข้อกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ทหาร ตารวจหรือฝ่ายความมั่นคงอื่นๆทาการทรมาน และปฏิบัติที่โหดร้ายต่อผู้ถูกควบคุมตัวโดยทางการไม่สามารถให้หลักฐานตอบโต้ข้อกล่าวหาเหล่านั้น เลยและที่ผ่านมามักจะโจมตีผู้กล่าวหาโดยทางการมักกล่าวหาว่าข้อร้องเรียนเหล่านั้นเป็นข้อมูลเท็จที่ มีเจตนาทาลายชื่อเสียงของประเทศไทย” งานวิจัยศึกษาเรื่อง ปัญหาการฟ้องคดีอาญาและการเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ : ศึกษากรณีการบังคับบุคคลให้สูญหาย จากข้อเท็จจริงในคาพิพากษาศาลฎีกาที่ 10915/2558 วิรัตน์ นาทิพเวทย์, นัชมุดดีน อัตตอฮีรี.(2562).นาเสนอถึงคดีขึ้นสู่ศาลไม่ตรงตามความประสงค์อันแท้จริงที่ ต้องการให้ศาลพิจารณาพิพากษาและครอบครัวของเหยื่ออาชญากรรมไม่สามารถเข้าร่วมเป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการได้ ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยในการที่จะ คุ้มครองและเยียวยาผู้ถูกประทบสิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้สูญหายยังเป็นอุปสรรคหลายประการเช่น ไม่ อาจฟ้องคดีอาญาในความผิดเกี่ยวกับการบังคับบุคคลให้สูญหายได้โดยตรงเพราะความผิดในการ บังคับบุคคลให้สูญหายตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหาย สาบสูญโดยถูกบังคับ คริสต์ศักราช 2006 ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดทางอาญาโดยตรง อีก ทั้งไม่สามารถที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้เพราะสภาพแห่งคดีเกี่ยวกับการบังคับให้ สูญหายไม่อาจทราบได้ว่าผู้ถูกบังคับให้สูญหายมีชะตาชีวิตอย่างไร ถูกทรมานหรือ ถึงแก่ความตาย แล้วหรือไม่ งานวิจัยศึกษาเรื่อง การเปรียบเทียบระบบการบันทึกและสืบค้นข้อมูลบุคคลสูญหาย พัชริ ภา พิพิธเบญญา (2558) นาเสนอถึง การศึกษาระบบและขั้นตอนการบันทึกและการสืบค้นข้อมูล บุคคลสูญหายรวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานจากหน่วยงานหลักที่ในประเทศไทยเพื่อ ช่วยให้การจัดทาแผนพัฒนาระบบรวมศูนย์ข้อมูลบุคคลสูญเนื่องจากสาหรับในประเทศไทย ปัญหา บุคคลสูญหายเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้าน การค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงาเก็บสถิติข้อมูลคนหายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง 2552 พบยอดผู้เสียหาย รวมทั้งชายหญิงทั้งสิ้น 1,523 คน สามารถติดตามกลับได้ 953 รายคงเหลือที่อยู่ระหว่างการติดตาม 570 รายโดยแนวโน้มของการสูญหายในอนาคตคาดว่าจะมี จานวนมากขึ้นโดยกลุ่มอายุของผู้สูญหาย คาดว่าจะเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนนอกจากนี้จากรายงาน ประจาปี 2554 ของสถาบันนิติ วิทยาศาสตร์ พบว่าจานวนบุคคลสูญหายที่สถาบันรับแจ้งในระหว่างปี พ.ศ. 2546 ถึง 2554 มีจานวน รวม 409 ราย เฉลี่ยปีละ45ราย โดยมีการพบตัวหรือส่งคืนศพเป็นจานวนรวม 201 รายเฉลี่ยปีละ 22

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3