การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

72 รายหรือคิดเป็นอัตราส่งคืน ร้อยละ 48 คงเหลือที่กาลังดาเนินการติดตามอยู่ 208 ราย ทั้งนี้การที่จะ ติดตามและบริหารจัดการปัญหาเกี่ยวกับบุคคลสูญหายได้ดีจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย หน่วยงาน และความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน อย่างไรก็ดีความร่วมมือของหน่วยงาน ต่างๆในประเทศไทยยังขาดความเป็นเอกภาพยังไม่มีแนวทางความร่วมมือร่วมกันหรื อแผนการ เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันที่เป็นรูปธรรม งานวิจัยศึกษาเรื่อง การทาให้บุคคลตกอยู่ภายนอกการคุ้มครองของกฎหมาย:องค์ประกอบ ที่หายไปจากร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รณกรณ์ บุญมี (2562) นาเสนอถึง การตัดสินใจตัดองค์ประกอบเรื่อง “การทา ให้บุคคลตกอยู่ภายนอกการคุ้มครองของกฎหมาย” ออกไปจากนิยามการบังคับบุคคลให้สูญหายไม่ใช่ ความผิดพลาดหรืออย่างน้อยไม่ใช่ความผิดพลาดในลักษณะเดียวกันกับตอนที่ประเทศไทยร่าง ความผิดฐานทรมานเมื่อห้าปีก่อน โดยบทความนี้จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งจะนาเสนอ กรณีศึกษาของประเทศฝรั่งเศสที่คณะกรรมการฯแสดงความห่วงกังวลจากการที่ฝรั่งเศสกาหนดนิยาม แตกต่างจากอนุสัญญา ส่วนที่สองจะแสดงให้เห็นว่าความเข้าใจเรื่อง“การทาให้บุคคลตกอยู่ภายนอก การคุ้มครองของกฎหมาย”นั้นสับสนแม้แต่ในระหว่างผู้เชี่ยวชาญก็มีข้อโต้แย้งว่าองค์ประกอบดังกล่าว ควรมีสถานะทางกฎหมายอย่างไร สาหรับส่วนที่สามจะกล่าวถึงความหมายของ“การทาให้บุคคลตก อยู่ภายนอกการคุ้มครองของกฎหมาย”และส่วนที่สี่เป็นความเห็นของผู้เขียนว่าองค์ประกอบนี้ควรอยู่ ในนิยามตามร่างกฎหมายไทยหรือไม่และถ้าควรประเทศไทยควรจะบัญญัติองค์ประกอบนี้อย่างไร งานวิจัยศึกษาเรื่อง ปัญหากฎหมายภายในของไทยไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่าง ประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับ คริสต์ศักราช 2006 ณริศรา นิยมราช (2559) นาเสนอถึงการที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติอนุสัญญาระหว่าง ประเทศว่าด้วยความคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ 4 ตุลาคม 2554 ที่ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการลงนามดังกล่าวเกิดจากความเห็นเป็นเสียงเดียวกันของกลุ่มองค์กร ภาครัฐ ภาคประชาสังคมและโดยญาติผู้เสียหายที่ได้ตระหนักถึงความสาคัญของการเสริมสร้างกลไก การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อระงับการกระทาที่เป็นการบังคับให้บุคคล สูญหายไปเพื่อให้ประเทศไทยมีสภาพสังคมแห่ง การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และมีความเป็น ธรรมมากยิ่งขึ้น แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่สามารถดาเนินการอนุวัติการไม่มีกฎหมายภายในให้ สอดคล้องรับกับอนุสัญญาฯดังกล่าวทั้งยังคงเป็นช่องว่างของกฎหมายภายในที่ทาให้ผู้กระทาความผิด หรือกลุ่มบุคคลที่กระทาผิดยังคงไม่ได้รับโทษหรือหากได้รับการลงโทษก็ยังคงเป็นบทลงโทษที่ไม่ได้ สัดส่วนแห่งความผิดที่กระทาและอาจจะเป็นปัจจัยทางอ้อมที่ทาให้ ผู้กระทาความผิดใช้ช่องทาง กฎหมายดังกล่าวเป็นการกระทาที่ละเมิดต่อมนุษยชนต่อไป ทาให้อนุสัญญาฯฉบับนี้ยังไม่สามารถ บังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3