การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
73 งานวิจัยศึกษาเรื่อง กฎหมายและมาตรการทางอาญาในกรณีเจ้าหน้าที่รัฐบังคับให้บุคคล สูญหาย เมธาวี คงพิกุล (2556) นาเสนอถึง การที่ประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติกฎหมายอาญาที่ เกี่ยวกับการบังคับบุคคลให้สูญหายโดยการกระทาของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเป็นรูปธรรมย่อมก่อให้เกิด ช่องว่างให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถกระทาการอันมีลักษณะบังคับบุคคลให้สูญหายโดยไม่เกรงกลัวต่อ กฎหมายและได้กระทาตามอาเภอใจ เพราะเชื่อว่าตนไม่ต้องรับผิดทางกฎหมายหรือมีโอกาสถูก ลงโทษน้อยมากจึงได้มีการศึกษาและค้นคว้าหามาตรการทางอาญาที่เหมาะสมเพื่อนามาแก้ไขปัญหา การบังคับบุคคลให้สูญหายที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน และหากเกิดการบังคับบุคคลให้สูญหายขึ้น รัฐก็สมควรมีมาตรการในการนาตัวผู้กระทาความผิดมารับ โทษรวมถึงมีการเยียวยาเหยื่ออย่างเหมาะสมโดยจะศึกษาจากอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการ คุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหายซึ่งมีการกาหนดมาตรฐานสากลในการป้องกันไม่ให้บุคคลต้อง สูญหายไว้และเนื่องจากการบังคับให้สูญหายนั้นมักเกิดในภูมิภาคลาตินอเมริกาและภูมิภาคเอเชีย บ่อยครั้งจึงมีความจาเป็นต้องศึกษากฎหมายภายในของประเทศเหล่านั้นว่ามีมาตรการและกลไกใน การจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างไร เหมาะสมหรือไม่โดยได้ศึกษาเฉพาะประเทศสหรัฐเม็กซิโกประเทศ สาธารณรัฐโคลอมเบียซึ่งอยู่ในภูมิภาคลาตินอเมริกาและประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ซึ่งอยู่ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กาลังเผชิญปัญหาการบังคับบุคคลให้ต้องสูญหายเช่นเดียวกับประเทศไทย รวมถึงจะพิจารณาบทบัญญัติกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาบทบัญญัติกฎหมายให้ สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันให้เกิดความชัดเจนโดยมีมาตรการปฏิบัติอย่าง สากลและรักษาไว้ซึ่งวัตถุประสงค์ของกฎหมายอาญาในการที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยและความ สงบสุขของสังคมต่อไป งานวิจัยศึกษาเรื่อง ความรับผิดทางอาญาของผู้บังคับบัญชากรณีผู้ใต้บังคับบัญชาบังคับให้ บุคคลสูญหาย นันทพร กันเฉย (2559) นาเสนอถึง การบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นการละเมิดสิทธิ เสรีภาพที่กระทาโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐแม้ว่ากฎหมายไทยจะมีบทบัญญัติลงโทษผู้กระทาความผิดใน ความผิดต่อเสรีภาพและความผิดต่อตาแหน่งหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทาความผิด แล้วแต่ไม่สามารถลงโทษผู้บังคับบัญชาที่ปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของตนกระทาความผิดแม้ว่า ผู้บังคับบัญชาจะมิได้เป็นผู้กระทาหรือมีส่วนร่วมในการกระทาความผิดแต่ในเมื่อรู้แล้วไม่ดาเนิน มาตรการเพื่อป้องกันหรือลงโทษก็ถือว่ารู้เห็นเป็นใจหรือละเลยหน้าที่อันมีส่วนทาให้เกิดการบังคับให้ บุคคลสูญหาย โดยมีการศึกษาการกาหนดความรับผิดทางอาญาของผู้บังคับบัญชาจากอนุสัญญา ระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับและขอบเขตของ ผู้บังคับบัญชาที่ต้องรับผิดตามหลักความรับผิดทางอาญาของผู้บังคับบัญชา มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหา แนวทางในการกาหนดรับผิดทางอาญาของผู้บังคับบัญชาและขอบเขตความรับผิดของผู้บังคับบัญชา กรณีผู้ใต้บังคับบัญชาบังคับให้บุคคลสูญหาย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3