การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

74 งานวิจัยศึกษาเรื่อง อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนให้พ้นจาก การถูกบังคับให้หายสาบสูญ : ผลกระทบทางกฎหมายต่อประเทศไทย คมกฤช หาญพิชาญชัย (2551) นาเสนอถึงการบังคับให้หายสาบสูญของมนุษย์เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรงที่ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายๆด้านเช่น สิทธิในการมีชีวิต สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน สิทธิในการ ได้รับเสรีภาพและความปลอดภัยส่วนบุคคลและสิทธิที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย ก่อนกฎหมาย โดยมีการจัดตั้ง “อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการ หายสาบสูญโดยถูกบังคับ” ซึ่งรับรองว่า “สิทธิที่จะไม่อยู่ภายใต้บังคับการหายตัวไปโดยถูก บังคับ” โดยพื้นฐานสิทธินี้ถือเป็นสิทธิมนุษยชนรูปแบบหนึ่งที่ภาคระหว่างประเทศและสังคมควร เคารพในระดับสากลในทุกสถานการณ์ทั่วโลกในฐานะหัวใจของอนุสัญญานี้ การบังคับบุคคลให้สูญ หายถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงซึ่งมีโทษตามกฎหมายตามความเหมาะสมและเหยื่อควรได้รับการ ชดเชยอย่างเป็นธรรม รัฐภาคีควรเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่ระบุไว้ในอนุสัญญาซึ่งถือเป็น มาตรฐานพื้นฐานในการปกป้องบุคคลจากการถูกบังคับให้หายสาบสูญ และแก้ไขกฎหมาย ภายในประเทศให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเจตนาของอนุสัญญาตลอดจนใช้มาตรการที่จาเป็น ทั้งป้องกันและฟื้นฟูเพื่อปกป้องบุคคลจากการถูกบังคับให้สูญหายอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล นอกจากนี้อนุสัญญาจะกาหนดกลไกระหว่างประเทศเฉพาะเพื่อตรวจสอบขอบเขตของ การปฏิบัติตามแต่ละประเทศตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญา จากการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมและ การเป็นสมาชิกอนุสัญญาจะช่วยยกระดับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยไปอีก ระดับหนึ่ง ประเทศไทยจึงควรดาเนินการภาคยานุวัติเพื่อเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาฯ เพิ่มเติมจากการ ดาเนินการแก้ไขกฎหมายภายในประเทศและปรับมาตรการและกลไกการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เรา สามารถปฏิบัติตามและดาเนินการตามบทบัญญัติของอนุสัญญาดังกล่าว งานวิจัยศึกษาเรื่อง การบังคับให้สูญหายโดยรัฐในกรณีของประเทศไทยระหว่างปี 2530– 2560 รัฐศาสตร์ มุลมาตร และณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ (2564) นาเสนอถึงการศึกษาเงื่อนไขที่ทาให้ การบังคับบุคคลให้สูญหายเกิดขึ้นและดารงอยู่ในสังคมไทยเนื่องจากการบังคับให้สูญหายได้เกิดขึ้น อย่างซ้าซากมาตั้งแต่อดีตและสมควรที่จะถูกสรุปนามาเป็นบทเรียนและข้อเสนอหรือแนวทางในการ ออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ถูกกระทาเพื่อผดุงเรื่องของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เนื่องจากปัญหา การถูกซ้อมทรมานที่เป็นต้นเหตุนามาสู่การบังคับให้สูญหายโดยมาตลอด การถูกซ้อมทรมานเกิดขึ้น อย่างแพร่หลายในประเทศไทยโดยที่สังคมทั่วไปไม่ได้รับรู้มีบางกลุ่มพยายามปกปิดข่าวสารไม่ให้ ออกมาแพร่หลายในสังคมเหล่านี้เป็นผลมาจากรูปแบบกระบวนการยุติธรรมที่เอื้อต่อการใช้ความ รุนแรงโดยรัฐ ทั้งนี้พบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระบวนการยุติธรรมหรือฝ่ายปกครองมีอานาจในการบังคับ ใช้กฎหมายโดยมักมีส่วนในการจับกุม ลักพาตัวหรือกักขังทรมานเพื่อให้ได้มาซึ่งคารับสารภาพ มีการ จากัดสิทธิเสรีภาพโดยขัดต่อมนุษยธรรมเกิดการทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การสังหารนอก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3