การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
79 - ตาแหน่งหน้าที่งาน การงาน หน่วยงานรัฐ ส่วนที่ 2 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรที่ผ่านมาเมื่อมีการกระทาให้บุคคลสูญหายไปจาก ครอบครัวโดยการถูกพาตัวไป และจะมีมาตรการใดเพื่อป้องปรามผู้กระทาผิดเหล่านี้อย่างไร 1) ท่านคิดว่า ครอบครัวของบุคคลผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหายที่ไม่มีวันได้กลับมา ควรที่จะได้รับการเยียวยาครอบครัวของบุคคลเหล่านี้ด้วยวิธีการอย่างไร 2) ท่านคิดว่า การคุ้มครองสิทธิและเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญ หาย ควรที่จะได้รับการคุ้มครองสิทธิและเยียวยาด้านไหนอย่างไร ส่วนที่ 3 ท่านคิดว่า จะมีวิธีการใดบ้างเพื่อช่วยฟื้นฟูครอบครัวของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย 1) ท่านคิดว่า ควรมีหน่วยงานใดเข้ามาดูแลครอบครัวของผู้สูญหายและด้วย วิธีการอย่างไร 2) ท่านคิดว่า ควรจะมีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการ เยียวยาครอบครัวของผู้ถูกบังคับให้สูญหายหรือไม่อย่างไร ส่วนที่ 4 ปัญหาอื่นและข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะหรือข้อแนะนาอื่นๆของผู้ให้สัมภาษณ์ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาแนวทางและหารูปแบบมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัว เหยื่อผู้ถูกบังคับสูญหายให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับปัญหาการกระทาให้บุคคลสูญหายที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันและยกระดับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยให้เทียบเท่าสากลสอดรับกับหลัก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย 3.2.4 ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง เนื่องจากในอดีตเคยเป็นพื้นที่ ที่มีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการบังคับการสูญหายเกิดขึ้น มีประชาชนสูญหายเป็นจานวน มากและกลายเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งใหญ่ของภาคใต้ ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง จนทาให้มีการ สร้างตานานความรุนแรงของเหตุการณ์ให้กลายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ถังแดง ของจังหวัดพัทลุงใน ปัจจุบัน เพื่อราลึกเหตุการณ์ถังแดง ให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ หลีกเลี่ยงความรุนแรงอันเกิดจากความ ขัดแย้งทางความคิด ความเชื่อที่แตกต่างกันระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ 3.3 เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิ เยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหาย ดังนี้ 1) สร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3