การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
80 2) นาแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่สร้างขึ้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความตรงของเนื้อหา ข้อซักถามแต่ละข้อ 3) ปรับปรุงแก้ไขแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ 4) นาแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content of Validity) ยื่นต่อคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งได้รับการรับรองแล้วตาม แนวทางหลักจริยธรรมการวิจัยในคนที่เป็นมาตรฐานสากล ได้แก่ Declaration of Helsinki, The Belmont Report, CIOMS Guideline และ International Conference on Harmonization in Good Clinical Practice หรือICH-GCP ตามใบรับรองที่ COA No.TSU 2022_240 REC No.0545 เมื่อได้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่มีความเชื่อมั่นแล้วนาแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างไปเก็บ ข้อมูลเพื่อดาเนินการวิจัย โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ไปทาการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายด้วยตนเอง และเก็บรวบรวมข้อมูลตาม ประเด็นข้อคาถามที่กาหนดไว้ในแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างต่อไป 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยมีลาดับขั้นตอนในการวิเคราะห์ ดังนี้ 1) ผู้วิจัยจะนาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยนาคาสัมภาษณ์หรือบันทึกสัมภาษณ์จากผู้ถูก สัมภาษณ์มาเปรียบเทียบระหว่างแต่ละบุคคลและจัดลาดับความสาคัญและคุณลักษณะของข้อมูล 2) นาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ที่จัดลาดับความสาคัญแล้วนามาเปรียบเทียบกับข้อมูลทางเอกสาร ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะได้ทราบถึงลักษณะที่มี ความคล้ายคลึงกันและแตกต่างกันของข้อมูล 3) นาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และจากการศึกษาเอกสารต่างๆมาทาการวิเคราะห์ข้อมูล อย่างเป็นระบบและนาไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันแสดงความสาคัญของข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์และการเขียนรายงาน ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข แต่จะประกอบด้วยการพรรณนาที่มีรายละเอียดและลึกมีการอ้างอิงโดยตรงเกี่ยวกับที่มาของข้อมูลไม่ ว่าจะเป็นข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าหรือข้อมูลเอกสาร ดังนั้น ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการตอบประเด็นสัมภาษณ์และข้อมูลเอกสารต่าง ๆจะถูกนามา วิเคราะห์และประมวลผล ซึ่งการวิเคราะห์จะออกมาในรูปเชิงพรรณนานาไปสู่คาตอบในการศึกษา และสรุปตีความตามหลักวิชาการประกอบการเขียนรายงาน โดยชี้ให้เห็นถึงการพัฒนามาตรการทาง กฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อผู้ถูกบังคับสูญหายให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับปัญหาการกระทาให้บุคคลสูญหายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและยกระดับการคุ้มครองสิทธิ มนุษยชนในประเทศไทยให้เทียบเท่าสากล สอดรับกับหลักรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3