การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทที่ 4 ผลการวิจัย การบังคับบุคคลให้สูญหายหรือที่เรียกกันว่า“การอุ้มหาย”เป็นวิธีการที่ถูกนามาใช้เป็น เครื่องมือของเจ้าหน้าที่ของรัฐในหลายๆประเทศเพราะคงคิดว่าเป็นวิธีการที่แก้ไขปัญหาได้อย่าง รวดเร็วที่สุดแต่ในความรวดเร็วนั้นกลับกลายเป็นอาชญากรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และ เ ป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเพราะไม่ใช่แค่การที่จะทาลายหรือฆ่าใครสักคนหนึ่งแต่เป็นการ ทาลายตัวตน ทาลายอัตลักษณ์ ทาลายคุณค่าของความเป็นคน เป็นเรื่องที่ร้ายแรงมากสาหรับ กฎหมายสากลที่ทั่วโลกร่วมมือกันป้องกันและปราบปรามมาอย่างยาวนาน ทั้งยังเป็นอาชญากรรมที่ เกิดขึ้นทุกครั้ง ไร้ซึ่งผู้รับผิดชอบในทุกครั้ง แม้ว่าปัจจุบันได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 โดยจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็น ต้นไปแล้วก็ตาม แต่ ณ ปัจจุบันมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิ เยียวยาครอบครัวเหยื่อ ของผู้ถูกบังคับสูญหายยังคงไม่มีการกาหนดเป็นมาตรการหรือกฎ ระเบียบอย่างชัดเจนเท่าที่ควร ทา ให้ครอบครัวของเหยื่อผู้สูญหายยังไม่ได้รับการฟื้นฟู เยียวยาที่ครอบคลุมส่งผลให้ประชาชนขาด หลักประกันสิทธิและเสรีภาพในการดารงค์ชีวิตได้ตามปกติสุข การศึกษามีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ เพื่อหาคาตอบในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการ คุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหาย รูปแบบการคุ้มครองสิทธิเยียวยา ครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหาย และหน่วยงานผู้มีอานาจหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเยียวยา หรือฟื้นฟูครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหาย นาไปสู่การปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายเพื่อ คุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนี้ 4.1 วิเคราะห์ปัญหาการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหาย ก่อนที่จะอธิบายว่าปัญหาการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหายเป็น อย่างไรนั้น ผู้วิจัยจะศึกษาให้เห็นถึงการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหาย โดยจะศึกษาตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ที่ได้มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 โดยจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนด หนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และศึกษาจากแนวคิดเกี่ยวกับการ คุ้มครองสิทธิทางด้านกฎหมาย เพื่อนาไปสู่ปัญหาการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูก บังคับสูญหายที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาอย่างครอบคลุม ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3