การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

86 คาสั่งยุติการกระทาเช่นนั้นทันทีตามสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายได้ (พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย, 2565) ผู้วิจัยวิเคราะห์แล้วเห็นได้ว่า การคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อ ของผู้ถูกบังคับสูญหายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทาให้ บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ที่ได้มีการประกาศใช้ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ไม่นานมานี้ เป็น การแสดงออกถึงความสาคัญของการที่จะแก้ไขปัญหาการกระทาให้บุคคลสูญหายตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติที่ประชุม เห็นชอบการลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคน จากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอและกระทรวงการต่างประเทศได้ ดาเนินการลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวต่อองค์การสหประชาชาติ ทาให้ประเทศไทยต้องผูกพันหรือมี พันธกรณีในการอนุวัติกฎหมายภายในโดยจะต้องปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย กฎ ระเบียบ และนโยบายรวมถึงมาตรการต่างๆให้สอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญานั้นๆ จากการศึกษาตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ใน ส่วนของข้อกฎหมายหรือมาตราที่มีความเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ ถูกบังคับสูญหายที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ในทางทฤษฎีหรือตามหลักกฎหมายแล้วเป็นการประกาศใช้ กฎหมายเบื้องต้นเพื่อแก้ไขปัญหาการอุ้มหายที่ยังเป็นปัญหาและขาดการคุ้มครองสิทธิไร้การเยียวยา และไร้ซึ่งการนาตัวผู้กระทาความผิดมาลงโทษเท่านั้น ทั้งยังเป็นข้อกฎหมายที่ยังไม่ได้มีการคุ้มครอง สิทธิและเยียวยาแก่ครอบครัวของเหยื่อผู้สูญหายได้อย่างครอบคลุมเท่าที่ควรและไม่ได้มีการบัญญัติถึง สิทธิการคุ้มครองหรือสิทธิการเยียวยาโดยเฉพาะเจาะจง เป็นการบัญญัติไว้เพียงแค่ว่าเจ้าหน้าที่ซึ่ง ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมีหน้าที่และอานาจติดตามผลความคืบหน้าของคดีและดาเนิน มาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย ชดเชย เยียวยา และฟื้นฟูความเสียหาย ทางร่างกายและจิตใจให้คาปรึกษาแนะนาด้านกฎหมาย และสนับสนุนช่วยเหลือด้านการดาเนินคดี โดยการมีส่วนร่วมจากผู้เสียหายแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นมาตรการที่ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของ สถานการณ์หรือคณะกรรมการที่จะคุ้มครองหรือช่วยเหลือ ไม่ได้มีการกาหนดมาตรการในการที่จะ คุ้มครองสิทธิหรือเยียวยาครอบครัวญาติของเหยื่อผู้สูญหายไว้อย่างชัดเจน ในทางปฏิบัติแล้วยากแก่การนามาหลักกฎหมายนี้มาบังคับใช้เนื่องจากผู้ ที่กระทาความเป็น หรือมีส่วนร่วมในการกระทาความผิดเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐเป็นคดีที่มี การกระทาความผิดเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบต่อหน่วยงานราชการ และส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ บ้านเมืองที่อาจมีการถือว่ามีการช่วยเหลือผู้กระทาความผิดที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐกันเอง มีการติดตาม สืบหาพยานหลักฐานที่ยากลาบาก เนื่องจากผู้ที่กระทาความผิดมีความชานาญแก่การหลบหลีกคดี หรือมีอิทธิพลต่อการกระทาความผิดนั้น อีกทั้งในส่วนของการเยียวยาความเสียหายมีเพียงการ เยียวยาทางด้านการเงินเป็นส่วนใหญ่ และไม่ได้มีการเยียวยาแก่ครอบครัวหรือญาติของเหยื่อผู้ถูก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3