การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

87 บังคับให้สูญหายทุกครัวเรือนที่ได้มาแจ้งความหรือร้องทุกข์ หรือมีกล่าวโทษเอาไว้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ พยานหลักฐานที่ชัดเจนที่จะสามารถเอาผิดได้เท่านั้น ครอบครัวใดที่ขาดพยานหลักฐาน หรือ พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ก็จะไร้ซึ่งการเยียวยาไป และปล่อยให้เรื่องเงียบหายไปในที่สุด อีกทั้งการ ฟื้นฟูเยียวยาทางด้านการเงินและทางด้านจิตใจขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการตาม พระราชบัญญัตินี้ว่ามีการคุ้มครองสิทธิโดยครอบคลุมถึงการได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนการ ช่วยเหลือรูปแบบใดบ้าง อย่างไร และเยียวยาถึงระดับใดไม่ได้มีการกาหนดไว้อย่างชัดเจน สาหรับที่ เข้ามาเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ครอบครัวของเหยื่อ เป็นเพียงการบัญญัติกฎหมายที่มุ่งแก้ไข ปัญหาที่ยังไม่มีกฎหมายเท่านั้น เพราะท้ายที่สุดแล้วกฎหมายเปิดช่องให้คณะกรรมการมีอานาจในการ บังคับใช้กฎหมายหรือมาตรการในการเยียวมากน้อยเพียงใดอยู่ที่อานาจของคณะกรรมการทั้งสิ้น อาจ ก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนการกระทาความผิดได้ และการบัญญัติกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ ยากแก่การบังคับใช้กฎหมายให้ชัดเจนตามที่กาหนด ที่สามารถทาให้ครอบครัวเหยื่อรู้สึกว่าคุ้มครอง สิทธิได้ทั่วถึงและเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ดังนั้น จากแนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิทางด้านกฎหมายทั้ง 3 ด้าน ได้แก่การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การคุ้มครองสิทธิของ ผู้เสียหายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จาเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ ทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ย่อมมีผลการบังคับใช้กฎหมายที่แตกต่างกัน ทั้ง ๆที่การอุ้มหายหรือการบังคับการสูญหายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับคดีทั่วๆไปควรที่จะ ได้รับการคุ้มครองสิทธิเช่นเดียวกับคดีอาญา คดีแพ่งทั่วไปเช่นเดียวกัน การบังคับสูญหายเป็น เหตุการณ์ความรุนแรงในอดีตที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน อีกทั้งไม่ได้มีการกาหนดไว้เป็นการกระทา ความผิดอาญา ไม่มีกฎหมายกาหนดการคุ้มสิทธิผู้เสียหายไว้เป็นการเฉพาะเจาะจง จึงถือได้ว่าเป็นคดี ที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายทางอาญาที่ยังไม่มีการยุติลง ทาให้นา หลักการคุ้มสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และนามาตรการการคุ้มครองสิทธิของ ผู้เสียหายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จาเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับไม่ได้ อย่างไรก็ตามจากการที่ประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่จะเข้ามาคุ้มครอง ผู้เสียหายจากปัญหาการบังคับสูญหายได้ ในปัจจุบันได้มีการบังคับใช้กฎหมายไว้เป็นการเฉพาะแล้ว สาหรับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการ กระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 เป็นกฎหมายภายในประเทศที่บังคับใช้ขึ้นมาเพื่อมุ่งที่จะคุ้มครอง สิทธิของครอบครัวเหยื่อผู้เสียหายไว้เป็นการเฉพาะ และเป็นการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา อีกทั้งสามารถนาไปสู่การบังคับใช้กฎหมายการคุ้มครองสิทธิให้แก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และเข้าสู่หลักการเยียวยาตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3