การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
88 ค่าใช้จ่ายแก่จาเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ภายหลังที่ได้มีการกาหนดให้การบังคับให้สูญหายเป็นการ กระทาความผิดอาญาแล้วตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้ บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 4.1.2 ปัญหาการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูกบังคับสูญหาย การบังคับบุคคลให้สูญหาย หรือที่เรียกกันว่า “การอุ้มหาย”เป็นวิธีการที่ถูกนามาใช้ เป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ของรัฐในหลายๆประเทศเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง มีการ ลิดรอนเสรีภาพของเหยื่อไม่ว่าจะโดยการจับกุม การคุมขัง การลักพาตัวโดยปราศจากความยินยอม เกิดจากกระทาโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่กระทาการภายใต้อานาจหรือการ สนับสนุนหรือการยอมรับจากรัฐและมีการปฏิเสธไม่รับรู้การกระทาหรือปกปิดชะตากรรมของผู้สูญ หายส่งผลกระทบต่อครอบครัว ญาติผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้สูญหายที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิทั้ง ขั้นตอนการดาเนินคดีในกระบวนการยุติธรรม การสืบสวนสอบสวน การติดตามพยานหลักฐานต่าง ๆ ทั้งยังไม่ได้รับการฟื้นฟูเยียวยาอย่างครอบคลุม เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติมาอย่างยาวนาน จนถึงปัจจุบัน ทาให้ประเทศไทยเห็นถึงความสาคัญของการที่จะแก้ไขปัญหาการกระทาให้บุคคลสูญ หายโดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เห็นชอบการลงนามใน อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับตามที่ กระทรวงยุติธรรมเสนอและกระทรวงการต่างประเทศได้ดาเนินการลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวต่อ องค์การสหประชาชาติแล้วเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 อันเป็นผลทาให้ประเทศไทยต้องผูกพัน หรือมีพันธกรณีในการอนุวัติกฎหมายภายในโดยจะต้องปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย กฎ ระเบียบและนโยบายรวมถึงมาตรการต่าง ๆให้สอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญานั้น ๆ โดยมีการ ประกาศพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 โดยจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ ทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ปัจจุบันในทางปฏิบัติก็ยังพบช่องว่างของ กฎหมายสาหรับปัญหาของการขาดมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวของ เหยื่อผู้ถูกบังคับให้สูญหายให้ได้รับความครอบคลุม หรือเป็นมาตรการ ข้อกาหนด หรือระเบียบที่ ชัดเจน เนื่องจากถ้าหากบุคคลที่สูญหายเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือเสาหลักของครอบครัวในการหา รายได้เข้ามาใช้ภายในครัวเรือน หรือเป็นผู้มีความมั่นคงในอาชีพต่างๆ หรือถ้าหากผู้ที่สูญหายเป็น หญิงที่ต้องดูแลความเรียบร้อย สาธารณูปโภคภายในครัวเรือนเมื่อมีการสูญหายไปก็จะเกิดการขาด แรงงานภายในครัวเรือนในการดารงชีพนั้นๆ รัฐจะนามาตรการการเยียวยา ฟื้นฟูในทางด้านการเงิน ร่างกายและจิตใจตามอานาจหน้าที่ของคณะกรรมการที่จะมีการเยียวยาความเสียหายที่ได้มีการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3