2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

บทที่ 1 บทนา 1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา เกษตรกร คือ ผู้ที่ทาเกษตรกรรมการเพาะปลูกพืช เพาะเลี้ยงปศุสัตว์และการประมงเพื่อผลิต อาหาร วัตถุดิบ เส้นใยธรรมชาติ และผลิตผลอื่น ๆ ที่สามารถนาไปใช้ได้ทั้งการอุปโภคและบริโภค เป็นอาชีพอิสระที่ไม่จาเป็นต้องขึ้นตรงกับหน่วยงานใด สามารถบริหารจัดการเวลาและวางแผนการ ทางานได้เอง การทาเกษตรกรรมนั้นส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาปัจจัยทางธรรมชาติค่อนข้างมาก เพราะต้อง พึ่งพาลมฟ้าอากาศที่ช่วยให้พืชพรรณเจริญเติบโต นอกจากนั้นยังต้องมีองค์ความรู้และความเข้าใจใน ธรรมชาติของพืชและสัตว์ เพื่อให้สามารถดูแลผลผลิตให้เจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลาย อย่างนั้นเป็นองค์ความรู้ที่หาได้จากประสบการณ์ หรือจากการบอกเล่าจากผู้ที่เชี่ยวชาญ เช่น การปลูกแนวต้นไม้เพื่อใช้ช่วยบังลม การปลูกพืชผสมผสานเพื่อเกื้อหนุนกัน บางครั้งอาจต้องมีการลอง ผิดลองถูกและเรียนรู้เพื่อนามาปรับใช้ เพราะสภาพพื้นที่ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อีกทั้งประเทศไทย มีเกษตรกรรมเป็นรากฐานสาคัญที่หยั่งลึกมานาน ด้วยสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทาให้มี ความเหมาะสมที่จะทาการเพาะปลูกต่าง ๆ คนไทยจึงนิยมทาเกษตรมาแต่สมัยโบราณ จวบจน ปัจจุบัน ผลิตผลทางการเกษตรก็ถือเป็นสินค้าส่งออกหลักที่ทารายได้ให้กับประเทศมากมาย โดย สามารถแบ่งประเภทกลุ่มเกษตรกรได้ 6 ประเภทดังนี้ หนึ่งกลุ่มเกษตรกรทานา สองกลุ่มเกษตรกรทา สวน สามกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ สี่กลุ่มเกษตรกรทาไร่ ห้ากลุ่มเกษตรกรทาประมง และหกกลุ่ม เกษตรกรอื่น ๆ (ทรูปลูกปัญญา, 2023) เกษตรกรชาวสวนยาง หมายถึง เจ้าของ ผู้เช่าหรือผู้ทาสวน ยางและคนกรีดยาง มีสิทธิได้รับผลผลิตจากต้นยางในสวนยางนั้นและได้ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่ง ประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกาหนด ตามมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ยางพาราเป็นพืชที่มีความสาคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกชนิดหนึ่ง พบว่ามีเกษตรกร ตลอดจนผู้ที่ทาธุรกิจเกี่ยวข้องกับยางพาราประมาณ 1 ล้านครอบครัว จานวนไม่น้อยกว่า 6 ล้านคน ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลก นับตั้งแต่ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา โดยใน ปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยมีการผลิตยางพารา จานวน 3.16 ล้านตันมี การส่งออก จานวน 2.73 ล้านตัน (ร้อยละ 86 ของผลผลิตทั้งหมด) ผลิตเพื่อใช้ในประเทศ จานวน 399,415 ตัน (ร้อยละ 12 ของผลผลิตทั้งหมด)สามารถทารายได้เข้าประเทศได้ปีละกว่า 400,000 ล้านบาท แต่การส่งออกยางพาราส่วนใหญ่อยู่ในรูปวัตถุดิบแปรรูปขั้นต้น มีมูลค่าเพิ่มต่า เช่น ยางแผ่น รมควัน ยางแท่ง และน้ายางข้น ทาให้มีผลต่อการสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ และการยกระดับรายได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3