2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
14 ของเกษตรกรชาวสวนยางไม่มากเท่าที่ควรและหากเรื่องนี้ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะส่งผลดีต่อประเทศและเกษตรกรชาวสวนยางพาราอย่างมหาศาล ดังนั้น ยางพาราก็ยังคงเป็นพืช เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีความจาเป็นในการส่งเสริมอาชีพและมีโอกาสในการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสาคัญต่อเศรษฐกิจของภาคใต้และของประเทศไทย โดยเฉพาะน้ายาง (Latex)เป็นผลิตผลที่ได้จากท่อลาเลียงอาหารในส่วนเปลือกของต้นยางพาราสามารถนามาใช้เป็น วัตถุดิบในการทาผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่าง ๆ สาหรับใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท ตั้งแต่ อุตสาหกรรมหนัก เช่น การผลิตยางรถยนต์ ไปจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือน น้ายางที่ได้จากต้น ยางพารามีคุณสมบัติบางอย่างที่ยางสังเคราะห์ (Synthetic Rubber) ไม่สามารถทาให้เหมือนได้ ดังนั้น ยางพาราจึงมีความสาคัญต่อประเทศไทยด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความสาคัญทางเศรษฐกิจ 3 ด้าน คือ หนึ่งด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากยางพาราเป็นพืชที่ทารายได้ให้กับ ประเทศเป็นจานวนมาก โดยในปี พ.ศ. 2553 มีมูลค่าการส่งออกยางธรรมชาติ จานวน 94,508 ล้าน บาท (เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553) มีจานวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 91.45 เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันในปี พ.ศ. 2552 โดยมีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ สองด้าน การกระจายรายได้ของเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทาสวนยางพารา จานวนมากกว่า 6 ล้านคนทั่ว ประเทศ สามด้านให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอนและมีจานวนเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาจากสถิติยางพารา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 ผลผลิตเฉลี่ย 60 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เมื่อมีการปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี จนถึง ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2552 มีการผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 276 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ทาให้เกษตรกรชาวสวน ยางพารามีรายได้จากการทาสวนยางพาราเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยางพารายังเป็นพืชที่ปลูกแล้วส่งผลให้มี รายได้สม่าเสมอเกือบตลอดทั้งปี ราคาผันผวนไม่มากนัก จึงสร้างรายได้ที่แน่นอนให้แก่เกษตรกรผู้ ปลูกยางมากกว่าปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ด้านความสาคัญทางสังคม คือ ยางพาราเป็นพืชที่ทาให้เกิดการ สร้างงานและอาชีพในชนบท จึงสามารถช่วยลดและแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายของแรงงานจากชนบทสู่ สังคมเมืองและส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนให้ครอบครัวมีความอบอุ่นมากขึ้น ด้านการรักษา สภาพแวดล้อม คือ ยางพาราเป็นพืชที่ทีอายุมากกว่า 20 ปี มีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศมากกว่า 12.3 ล้าน ไร่ กระจายอยู่ทุกจังหวัดในภาคใต้ ยางพาราจึงเป็นพืชทดแทนป่าไม้ที่มีจานวนลดลง และเป็นการเพิ่ม พื้นที่สีเขียวของประเทศให้มีมากขึ้น อีกทั้งภายในสวนยางพารายังมีพืชชนิด อื่น ๆ ที่สามารถปลูกร่วม ได้ จึงทาให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้นรวมทั้งเป็นที่อาศัยของสัตว์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ด้านอุตสาหกรรมไม้ยางพารา คือ อุตสาหกรรมไม้ยางพาราเป็นอุตสาหกรรมที่ เป็นอนาคตของ ประเทศไทย เนื่องจากประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกมีการปิดป่าทาให้เกิดการขาดแคลนไม้ในการ บริโภคจึงส่งผลให้ไม้ยางพาราเป็นที่ต้องการมากขึ้นนอกจากจะทารายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยางทาง หนึ่งแล้วยังทาให้เกิดรายได้เข้าประเทศมากขึ้นจากการส่งออกผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราและมี แนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปีด้วย (สานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน), 2561) ล่าสุด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3