2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

16 อื่น ๆ ร้อยละ 7.77 ท่อยางร้อยละ 3.92 ยางยืดร้อยละ 2.87 ถุงยางอนามัย ร้อยละ 2.09 และ สายพานร้อยละ 1.24 ตามลาดับ (สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับ สถาบันพลาสติก, 2566) อย่างไรก็ตามอาชีพการทาสวนยางพาราขึ้นอยู่กับมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร ชาวสวนยางพาราและภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศและของโลกเป็นสาคัญกลไกราคาของยางพารา มีผลสาคัญต่อการดารงชีพของเกษตรกรชาวสวนยางพารา กล่าวคือถ้าราคายางพาราลดลงจะส่งผล กระทบต่อฐานะความเป็นอยู่และพฤติกรรมการดารงชีพของครัวเรือนเกษตรกรรมชาวสวนยางพารา เป็นอย่างมากนอกจากนี้อาชีพการทาสวนยางยังเกี่ยวข้องกับฤดูกาลโดยฤดูกาลที่ทาให้ชาวสวนยาง หยุดกรีดยางมี 2 ฤดูคือฤดูฝนและฤดูแล้ง จึงทาให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราว่างงานในช่วงดังกล่าว ได้หากไม่มีงานอื่นทาควบคู่กันไปสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวการณ์ตลาดของยางพาราคือในช่วง 10 ปีที่ ผ่านมามีรายงานว่าความต้องการบริโภคยางพาราของโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 6-7 เท่า ยิ่ง ความต้องการบริโภคยางพารามากขึ้นเท่าใดเกษตรกรชาวสวนยางพารายิ่งต้องเพิ่มการผลิตเพื่อสนอง ความต้องการบริโภคยางพารามากขึ้นเท่านั้นนับว่าเกษตรกรชาวสวนยางพาราไทยยังมีความโชคดีที่มี การนาผลผลิตยางพาราไปจาหน่ายหลากหลายรูปแบบเช่น น้ายางสดและยางแผ่นดิบ เป็นต้น ทาให้ เกษตรกรชาวสวนยางพารามีทางเลือกในการเลือกรูปแบบการผลิตตามภาวะราคาของผลผลิต ยางพาราที่มีราคาสูงในขณะนั้นอีกทั้งยังเป็นการช่วยปรับสมดุลของอุปทานอุปสงค์ของตลาดยางแต่ ละประเภทในขณะนั้นได้ด้วย ดังนั้นยางพาราจึงเป็นพืชที่มีโอกาสในการสร้างรายได้อย่างสาคัญแก่ เกษตรกรไทย (อารีย์ จันแก้ว, 2553) ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมีความประสงค์จะศึกษาเฉพาะกลุ่มที่สองคือ เกษตรก รทาสวน เกษตรกรชาวสวนยาง ตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ได้ให้คานิยาม ความหมายที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรชาวสวนยางดังนี้ มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “ต้นยาง” หมายความว่า ต้นยางพารา และให้หมายความรวมถึงต้นยางชนิดอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศ กาหนด “ยาง” หมายความว่า น้ายางสด ยางก้อน เศษยาง น้ายางข้นยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ หรือยางในลักษณะอื่นใดอันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใด ๆ ของต้นยางแต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์ยาง และวัตถุประดิษฐ์สาเร็จรูปจากยาง “ไม้ยาง” หมายความว่า ต้นยาง หรือไม้ยางท่อนจากต้นยาง “ยางพารา” หมายความว่า ยางและไม้ยาง “สวนยาง” หมายความว่า ที่ดินปลูกต้นยางเนื้อที่ไม่น้อย กว่าสองไร่ แต่ละไร่มีต้นยางปลูกไม่น้อยกว่าสิบต้น และโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าไร่ละยี่สิบห้าต้น “เกษตรกรชาวสวนยาง” หมายความว่า เจ้าของ ผู้เช่าหรือผู้ทาสวนยางและคนกรีดยาง มีสิทธิได้รับ ผลผลิตจากต้นยางในสวนยางนั้น และได้ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกาหนด ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2558

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3