2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
17 “การปลูกแทน” ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 หมายความว่า การปลูกยางพันธุ์ดี หรือไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสาคัญทางเศรษฐกิจตามที่ คณะกรรมการประกาศกาหนด แทนต้นยางเก่าทั้งหมดหรือบางส่วน การปลูกแทนถือเป็นเรื่องที่ให้ ความสาคัญแก่เกษตรกรชาวสวนยางเป็นอย่างมาก ผู้ริเริ่มการปลูกแทนยางพาราที่ปลูกในสมัยแรก ส่วนใหญ่เป็นยางพาราพื้นเมืองที่ให้ผลผลิตต่าเลยส่งผลให้ชาวสวนยางพารามีรายได้น้อยโดยเฉพาะ ในช่วงที่ยางพารามีราคาตกต่า วิธีการแก้ไขคือการปลูกแทนยางพาราพื้นเมืองเหล่านั้นด้วยยางพารา พันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูง ผู้ผลิตยางพาราหลายประเทศได้เร่งการปลูกแทนยางพาราเก่าด้วยยางพาราพันธุ์ ดีเพื่อเพิ่มผลผลิตยางพาราและยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางให้ลืมตาอ้าปากได้ ในสภาวะที่ยางพารานั้นมีราคาที่ตกต่า จึงแสดงให้เห็นข้อดีของการปลูกแทน ปัจจุบันได้มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการขอรับเงินทุนสนับสนุนการปลูกแทนตามพระราชบัญญัติยาง แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 กาหนดให้การยางแห่งประเทศไทยส่งเสริมและสนับสนุนโดยจ่ายให้แก่ เกษตรกรชาวสวนยาง ตามมาตรา 36 บัญญัติว่า “เกษตรกรชาวสวนยางผู้ใดมีสวนยางตั้งอยู่บนที่ดิน ที่ตนเองมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย หากประสงค์จะขอรับการส่งเสริมและ สนับสนุนให้มีการปลูกแทนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคาขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนต่อ กยท. ตามแบบและวิธีการที่คณะกรรมการกาหนด กยท. ย่อมาจากคาว่า การยางแห่งประเทศไทย เกิดจากการรวม 3 หน่วย ได้แก่ สานักงาน กองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง องค์การสวนยางและสถาบันวิจัยยาง ในเนื้อหาต่อไปของงานฉบับนี้ ผู้วิจัยขออนุญาตใช้ คาย่อ เพื่อความเข้าใจตรงกัน ในกรณีที่ผู้ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนเป็นผู้ทาสวนยางในที่ดินที่ตนเช่า หรืออาศัยบุคคลอื่น ผู้ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนต้องแสดงต่อ กยท. ว่าผู้ให้เช่าหรือผู้ให้อาศัยได้ ให้ความยินยอมในการที่ตนขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนตามแบบที่คณะกรรมการกาหนด เพื่อประโยชน์ในการสารวจตรวจสอบของ กยท. ในการพิจารณาให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้ มีการปลูกแทน ผู้ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนต้องอานวยความสะดวกแล ะปฏิบัติการตาม หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกาหนด การปลูกแทนกาหนดให้ (กยท.) ให้การสนับสนุน ยางพันธุ์ดีพันธุ์ ไม้ยืนต้น พันธุ์พืช ปุ๋ย หรือ จ่ายเงินให้ก็ได้ทั้งนี้จะจัดให้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ โดยการร่วมมือพัฒนายางพาราใน ประเทศไทย เกษตรกรสามารถเข้ามามีส่วนช่วยได้หลายวิธี ทั้งการ เลือกปลูก ยางพาราในพื้นที่ เหมาะสม การไม่บุกรุกป่า การลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยน การปลูกพืช เชิงเดี่ยวเป็นการปลูกพืชหลาย ๆ ชนิด (กยท.) ได้ให้การส่งเสริมทั้งเงินทุนในการปลูกพืชแบบ ผสมผสาน เป็นการปลูกพืชท้องถิ่นร่วมในสวนยางหรือการเลี้ยงสัตว์ก็ดี สามารถเพิ่มรายรับให้กับ ครอบครัวในช่วงที่ราคายางผันผวนด้วย หากเกษตรกรต้องการได้รับการ สนับสนุนเงินทุนเกี่ยวกับการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3