2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
18 ปลูกแทนต้องอยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยาง แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 2 ไร่ แต่ละไร่มีต้นยาง ปลูกกระจัดกระจายไม่ น้อยกว่า 10 ต้น และโดยเฉลี่ย ไม่น้อยกว่าไร่ละ 25 ต้น และเป็นต้นยางเก่าอายุกว่า 25 ปีขึ้นไป หรือ ต้นยางทรุดโทรมเสียหายหรือ ต้นยางที่ได้ผลน้อยไม่คุ้มค่ากับการบารุงรักษา สวนยางที่อยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับการสงเคราะห์เพื่อปลูก แทนจะต้องไม่เป็นที่ดินหวงห้ามของทางราชการหรืออยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตอุทยาน แห่งชาติหรือป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติกาหนดไว้ให้เป็นป่าถาวรอันเป็นสมบัติของชาติ เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากหน่วยราชการผู้รับผิดชอบให้เป็นผู้มีสิทธิทากินหรือได้รับอนุญาตให้เข้าทาประโยชน์หรือ อยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราวเพื่อการทาสวนยาง กรณีที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 เรื่องการขอทุนปลูกแทนกรณีของผู้เช่าเล็งเห็นว่าทาให้เกิดความไม่เท่าเทียมแก่บุคคลผู้เช่าที่ดิน ของผู้อื่นเพื่อปลูกยางพารา ภายใต้ความคุ้มครองกฎหมายเดียวกัน กล่าวคือ เกษตรกรที่ปลูกยางใน ที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครอง เกษตรกรผู้นั้นจะไม่สามารถขอการปลูกแทนได้เลยเหมือนกับเจ้าของ สวน เนื่องจาก ประกาศคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เรื่อง แบบและวิธีการยื่นคาขอรับการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน พ.ศ. 2558 ข้อ 4 คุณสมบัติของผู้ขอรับการส่งเสริมและ สนับสนุนให้มีการปลูกแทน 4.1 เป็นเกษตรกรชาวสวนยาง 4.2 เป็นผู้มีสวนยางที่มีต้นยางอายุกว่ายี่สิบห้าปีขึ้นไป หรือต้นยางทรุดโทรมเสียหายหรือต้นยาง ได้ผลน้อยตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในระเบียบการยางแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการส่งเสริมและ สนับสนุนให้มีการปลูกแทน พ.ศ. 2558 4.3 มีสวนยาง (ก) ตั้งอยู่บนที่ดินที่ตนเองมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย (ตามบัญชี เอกสารหลักฐานที่ดิน 1 ท้ายประกาศ) หรือ (ข) ตั้งอยู่บนที่ดินที่มีหนังสืออนุญาตการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ (ตามบัญชีเอกสารหลักฐานที่ดิน 2 ท้ายประกาศ) หรือ (ค) ตั้งอยู่บนที่ดินตาม (ก) หรือ (ข) ที่ผู้ทาสวนยางเช่าหรืออาศัยบุคคลอื่นและได้รับคา ยินยอมจากผู้ให้เช่าหรือผู้ให้อาศัยในการที่ตนขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน ทาให้เกิดประเด็นปัญหาใน (ค) ที่ว่าเกษตรกรที่ปลูกยางในที่ดินที่ตนเช่าหากมีความประสงค์จะ ยื่นคาขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน ก็จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า และ หากผู้ให้เช่าไม่ให้ความยินยอมก็เสียสิทธิที่จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน แม้ผู้ เช่าจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามสัญญาเช่าก็ตาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3