2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
22 จึงไม่มีความจาเป็นที่จะต้องได้รับหนังสือขอความยินยอมจากผู้ให้เช่าอีกในการขอทุนปลูกแทนตาม มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ในฐานะผู้เช่า 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ในฐานะผู้เช่า 1.2.3 เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร ชาวสวนยางพารา ในฐานะผู้เช่า 1.2.4 เพื่อเสนอมาตรการทางกฎหมายในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพารา ในฐานะ ผู้เช่าของประเทศไทย 1.3 คาถามวิจัย มาตรการทางกฎหมายในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ในฐานะผู้เช่าควรมีลักษณะ อย่างไร 1.4 สมมติฐานของการวิจัย อาชีพการทาสวนยางพารานั้นขึ้นอยู่กับมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรชาวสวน ยางพาราและภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศและของโลกเป็นสาคัญกลไกราคาของยางพารามีผล สาคัญต่อการดารงชีพของเกษตรกรชาวสวนยางพารา กล่าวคือ ถ้าราคายางพาราลดลงจะส่งผล กระทบต่อฐานะความเป็นอยู่และพฤติกรรมการดารงชีพของครัวเรือนเกษตรกรเป็นอย่างมาก นามาสู่ปัญหาหลายประการ ที่สาคัญคือ เรื่องการขอรับเงินทุนสนับสนุนการปลูกแทนที่ในกรณี เกษตรกรที่ปลูกยางในที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครอง ในฐานะผู้เช่า ก็จะไม่สามารถขอการปลูกแทนได้ จนกว่าจะได้รับความยินยอมจากเจ้าของสวน ดังนั้นควรจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการทางกฎหมาย ที่เข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพชาวสวนยางในด้านของการคุ้มครองสิทธิเกษตรกรชาวสวนยาง ใน ฐานะผู้เช่าให้สามารถขอรับเงินสนับสนุนการปลูกแทนตามมาตรา 36 เช่นเดียวกับเจ้าของสวนและให้ ได้รับการช่วยการเยียวยาในกรณีเงินทุนสนับสนุนการปลูกแทนแก่ผู้เช่าที่มีสิทธิครอบครองในที่ดินที่ ตนเองทาเกษตรกรรมปลูกยางพารา รวมถึงสวัสดิการในด้านอื่น ๆ เป็นต้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3