2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์
23 1.5 ขอบเขตของการวิจัย ในการวิจัยได้กาหนดขอบเขตการศึกษาไว้ 3 ด้าน ดังนี้ 1.5.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา หลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยจะนาเอาหลักการว่าด้วยความเสมอภาค มาสนับสนุนในงานเพื่อให้เกิดความเท่า เทียมกันแก่เกษตรกรชาวสวนยางพารา ในฐานะผู้เช่ากับเจ้าของสวน และทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ในการคุ้มครองผู้เช่าว่าผู้เช่านั้นมีสิทธิในที่ดินที่ตนเช่าเพียงใด แนวคิดการสนับสนุนและช่วยเหลือ เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อให้ผู้เช่ารู้ถึงขั้นตอนและวิธีการในการขอรับทุนสนับสนุนให้มีการปลูกแทน ยางพารา ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 รวมถึงหลักการ พึ่งพาตนเอง และทฤษฎีความเหลื่อมล้า เป็นต้น กฎหมายไทย 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2. พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 3. พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง พ.ศ. 2503 4. พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 5. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เช่าทรัพย์ และ บรรพ 4 ทรัพย์สิน กฎหมายต่างประเทศ ในกลุ่มประเทศอาเซียน นับว่าเป็นผู้ส่งออกยางพาราออกสู่ตลาดโลกมากที่สุด มีส่วนแบ่ง ตลาดกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และ สหพันธรัฐมาเลเซีย ถือเป็นประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ 4 อันดับแรกของโลก แต่ละประเทศส่งออก ยางพาราแต่ละประเภทในสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยประเทศไทยถือว่าส่งออกยางมากในเกือบทุก ประเภท โดยส่งออกยางแท่งมากที่สุดตามด้วย ยางแผ่นรมควัน น้ายางธรรมชาติ และยางธรรมชาติใน รูปแบบอื่น ๆ ในขณะที่สาธารณรัฐอินโดนีเซียเน้นการส่งออกยางแท่งเพียงอย่างเดียว มูลค่าการ ส่งออกยางแท่งมากกว่าประเทศไทยเกิน 2 เท่า แต่มีการส่งออกยางประเภทอื่นน้อยมาก เช่นเดียวกัน กับสหพันธรัฐมาเลเซียที่เน้นการส่งออกยางแท่งเป็นหลักและส่งออกยางประเภทอื่นน้อยมาก ส่วน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีการส่งออกยางธรรมชาติในรูปแบบอื่น ๆ มากที่สุด สาเหตุที่แต่ละ ประเทศผลิตยางพาราในรูปแบบที่แตกต่างกันเนื่องจากมีตลาดที่รองรับแตกต่างกันอย่างชัดเจน (ศิวกร วิชากิจ, 2565) 1. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 2. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 3. สหพันธรัฐมาเลเซีย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3