2566-1 นางสาวกัญญาณัฐ จิตตเสน -วิทยานิพนธ์

24 1.5.2 ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ประชากรที่กาหนดสาหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลตามวิธีวิจัยที่กาหนดไว้ประกอบด้วยผู้ที่ เกี่ยวข้องโดยตรง คือ ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ได้แก่ เจ้าของสวนหรือผู้ให้เช่าและผู้เช่า จานวน 10 คน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่การยางแห่งประเทศไทยจังหวัด สงขลา จานวน 2 คน และเจ้าหน้าที่กองทุนสงเคราะห์การทาสวนยางจังหวัดสงขลา จานวน 2 คน โดยวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์ เป็นต้น 1.5.3 ด้านพื้นที่ พื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลกาหนดให้เป็น พื้นที่ในจังหวัดสงขลา 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย การวิจัยกาหนดเป้าหมายคือการให้ความช่วยเหลือชาวสวนยางให้เข้าถึงการคุ้มครองสิทธิตาม กฎหมาย เสรีภาพ ความเสมอภาคของประชาชนในการประกอบอาชีพอย่างเท่าเทียมกัน เนื่องจาก ประเทศไทยมีเกษตรกรรมเป็นรากฐานสาคัญที่หยั่งลึกมานานด้วยสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทาให้บ้านเรามีความเหมาะสมที่จะทาการเพาะปลูกต่าง ๆ คนไทยจึงนิยมทาเกษตรมาแต่ สมัยโบราณ จวบจนปัจจุบัน ผลิตผลทางการเกษตรก็ถือเป็นสินค้าส่งออกหลักที่ทารายได้ให้กับ ประเทศไทยมากมายและเพื่อให้ประเทศไทยมีกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อให้เกิดการคุ้มครองแก่ผู้ ประกอบอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางพารา ในฐานะผู้เช่า อย่างเต็มรูปแบบ 1.6.1 ประโยชน์ต่อประชาชน ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง จะได้รับความคุ้มครองสิทธิ ในด้านการขอทุนการ ปลูกแทน อย่างเท่าเทียมกันในด้านการเยียวยาและเงินช่วยเหลือหากประสบปัญหาจากการทา การเกษตร เงินอุดหนุน รวมไปถึง สุขอนามัย ที่พัก สุขา ยารักษาโรคและอื่น ๆ ตามสมควร 1.6.2 ประโยชน์ต่อการพัฒนา การคุ้มครองสิทธิ ความเสมอภาคและความเท่าเทียมในการประกอบอาชีพทาให้เกิดการ พัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมต่อผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ อีกทั้งยังทาให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบ กฎหมายของไทย 1.6.3 ประโยชน์ต่อการปฏิรูปประเทศ จากปัญหาที่เกษตรกรชาวสวนยางพบเจอ ทั้งในด้าน สิทธิ สวัสดิการ ความไม่เท่าเทียม กัน ความเหลื่อมล้า เป็นต้น จะส่งผลทาให้การพัฒนาประเทศไม่สามารถดาเนินการไปอย่างเท่าที่ควร ผลการวิจัยนี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3